จำนวนผู้เข้าชม

วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2555

เครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบเชื่อมโยง


ครูยงยุทธ ชมไชย

4.1 บทบาทของการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์


4.1 บทบาทและการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์

    การติดต่อสื่อสารเป็นการพูดคุยหรือส่งข่าวกันของมนุษย์ ซึ่งอาจเป็นการแสดงออกด้วยท่าทาง การใช้ภาษาพูดหรือผ่านทางตัวอักษร โดยส่วนใหญ่เป็นการสื่อสารในระยะใกล้ ต่อมาเมื่อเทคโนโลยีก้าวหน้ามากขึ้นมีการพัฒนาอุปการณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับใช้ในการสื่อสาร ทำให้สามารถสื่อสารได้ในระยะไกลและสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น เช่น โทรเลข โทรศัพท์ และโทรสาร

    สำหรับการติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หลายเครื่องในเวลาเดียวกันที่เรียกว่าระบบเครือข่าย (network) มีการพัฒนาให้ดีขึ้นเป็นลำดับ จากในอดีตการใช้งานคอมพิวเตอร์จะเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่เช่น เมนเฟรม การใช้งานจะมีการเชื่อมต่อไปยังเครื่องปลายทางหรือเทอร์มินัล (terminal) หลายเครื่อง ซึ่งถือว่าเป็นการติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์กับเทอร์มินัลในยุคแรก

    ต่อมามีการพัฒนาไมโครคอมพิวเตอร์หรือซีพี ซึ่งมีขนาดความสามารถในด้านความเร็วการทำงานสูงขึ้น และมีราคาต่ำลงมากเมื่อเทียบกับคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ทำให้การใช้งานที่แพร่หลายมากยิ่งขึ้น และมีความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้นเข้าด้วยกัน นอกเหนือจากการเชื่อมต่อเทอร์มินัลเข้ากับคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ดังเช่นผ่านมา และได้มีการกำหนดฐานกลางที่ใช้ในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ที่มาจากผู้ผลิตต่างกัน ให้สามารถติดต่อถึงกันได้ เกิดการใช้งานระบบเครือข่ายที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการทำงาน เช่น การโอนถ่ายย้ายข้อมูลระหว่างกัน หรือการใช้ทรัพยากรร่วมกัน ทำให้เกิดความสะดวก และรวดเร็วในการใช้งานเพิ่มขึ้น

    ลักษณะของเครือข่ายอาจเริ่มจากจุดเล็กๆ เช่น ระหว่างอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์บนแผงวงจรเดียวกัน ไปจนถึงระบบที่ทำงานร่วมกันในห้องทำงานในอาคาร ระหว่างอาคาร ระหว่างสถาบัน ระหว่างเมือง ระหว่างประเทศ

    ปัจจุบันมีการใช้งานคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ในการคำนวณและเก็บข้อมูล รวมถึงการสื่อสารข้อมูล การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารต่างระหว่างคอมพิวเตอร์ เช่น ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation : OA) เป็นระบบงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ประยุกต์ และระบบเครือข่ายช่วยในงานที่เกี่ยวกับเอกสาร การโอนย้ายแลกเปลี่ยนไฟล์ การควบคุมเอกสารและส่งเอกสารไปยังหน่วยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และการส่งอีเมล ผู้ใช้งานอาจอยู่-ภายในอาคารเดียวกันหรืออยู่คนละเมืองก็ได้ การส่งข้อมูลข่าวสารเช่นนี้ต้องอาศัยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายประเภทที่สามารถเชื่อมต่อและทำงานร่วมกัน โดยผ่านสื่อกลางในการส่งผ่านข้อมูล ซึ่งผู้เรียนจะได้ศึกษาต่อไป นอกจากนี้ยังมีการกระจายฐานข้อมูลความรู้ต่างๆ ไว้ผ่านระบบเครือข่าย เช่น ฐานข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม งานวิจัย เศรษฐกิจ และสินค้าต่างๆ ในสถานศึกษาอาจจะมีข้อมูลที่เกี่ยวกับหนังสือและตำราวิชาการ หากผู้ใช้ต้องการข้อมูลใดก็สามารถติดต่อผ่านเครือข่ายสื่อสารด้วยคอมพิวเตอร์มายังศูนย์บริการข้อมูลนั้น ทำให้การได้รับข้อมูลเป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็ว

การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ก่อให้เกิดประโยชน์ ดังนี้

    1. ความสะดวกในการแบ่งปันข้อมูล ปัจจุบันมีข้อมูลจำนวนมากสามารถถูกส่งผ่านเครือข่ายการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว เช่น การส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายโทรศัพท์ระบบ ดีเอสแอล ( Digital Subscriber Line DSL ) ถ้าส่งด้วยอัตราเร็ว 2 Mbps หรือประมาณ 256 kB/s จะส่งข้อมูลจำนวน 200หน้าได้ในเวลาน้อยกว่า 10 วินาที

    2. ความถูกต้องของข้อมูล การรับส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายการสื่อสารเป็นการส่งแบบดิจิทัล ซึ่งระบบการสื่อสารจะมีการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ส่ง และแก้ไขข้อมูลที่ผิดพลาดให้ถูกต้องได้โดยอัตโนมัติ ดังนั้น การสื่อสารข้อมูลจึงมีความเชื่อถือสูง

    3. ความเร็วในการรับส่งข้อมูล การใช้คอมพิวเตอร์ในการส่งข้อมูล หรือ ค้นคว้าข้อมูลจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ทำได้รวดเร็ว เนื่องจากสัญญาณทางไฟฟ้าเดินทางด้วยความเร็วใกล้เคียงความเร็วแสง เช่น การดูภาพยนตร์ หรือรายการโทรทัศน์ผ่านอินเทอร์เน็ต การตรวจสอบหรือการจองที่นั่งของสายการบินสามารถทำได้ทันที

    4. การประหยัดค่าใช้จ่ายในการสื่อสารข้อมูล การรับและส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายการสื่อสารสามารถทำได้ในราคาถูกกว่าการสื่อสารแบบอื่น เช่น การใช้งานโทรศัพท์โดยผ่านอินเทอร์เน็ตหรือที่เรียกว่า วอยซ์โอเวอร์ไอพี ( Voice over IP : VoIP ) จะมีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าการใช้งานโทรศัพท์โดยผ่านระบบโทรศัพท์พื้นฐาน หรือการใช้อีเมลส่งข้องมูลหรือเอกสารในรูปแบบอีเล็กทรอนิกส์จะมีค่าใช้จ่ายต่ำกว่า และรวดเร็วกว่าการส่งเอกสารแบบวิธีอื่น

    5. ความสะดวกในการแบ่งปันทรัพยากร ในองค์กรสามารถใช้อุปกรณ์สารสนเทศร่วมกันได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายติดตั้งอุปกรณ์ให้กับทุกเครื่อง เช่น เครื่องพิมพ์ นอกจากนี้ยังสามารถให้โปรแกรมและข้อมูลร่วมกันได้ โดยจัดเก็บโปรแกรมและข้อมูลเหล่านั้นไว้ที่แหล่งเก็บข้อมูลที่เป็นศูนย์กลาง เช่น เครื่องบริการไฟล์ ( file server ) เป็นต้น

    6. ความสะดวกในการประสารงาน ในองค์กรที่มีหน่วยงานย่อยหลายแห่งที่อยู่ห่างไกลกันสามารถทำงานประสานกันผ่านระบบอินเทอร์เน็ต เช่น การประชุมทางไกล และการแก้ไขเอกสารร่วมกันผ่านระบบเครือข่าย

    7. ขยายบริการองค์กร เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำให้องค์กรสามารถกระจายทำการไปตามจุดต่างๆ ที่ต้องการให้บริการ เช่น ธนาคารที่มีสาขาทั่วประเทศ สามารถถอนเงินได้จากตู้เอทีเอ็ม หรือฝากเงินได้ตามตู้เอทีเอ็ม เป็นต้น

    8. การสร้างบริการรูปแบบใหม่บนเครือข่าย การให้บริการต่างๆ ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าใช้บริการได้ทุกที่ทุกเวลา เช่น การซื้อสินค้าผ่านร้านค้าออนไลน์ ซึ่งเป็นบริการแบบหนึ่งของพาณิชย์อิเล็กทรอนิคส์ ( e – commerce ) และการรับชำระสินค้า ค่าสาธารณูปโภคผ่านจุดรับชำระแบบออนไลน์ ที่เรียกว่าเคาน์เตอร์เซอร์วิส ( counter

ชนิดของเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ประเภทของเครือข่ายคอมพิวเตอร์


เครือข่ายสามารถจำแนกออกได้หลายประเภทแล้วแต่เกณฑ์ที่ใช้ เช่น ขนาด ลักษณะการแลกเปลี่ยนข้อมูลของคอมพิวเตอร์ เป็นต้น โดยทั่วไปการจำแนกประเภทของเครือข่ายมีอยู่ 3 วิธีคือ

1. ใช้ขนาดทางกายภาพของเครือข่ายเป็นเกณฑ์ แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทดังนี้
       
         1.1 LAN (Local Area Network) : ระบบเครือข่ายระดับท้องถิ่น

เป็นระบบเครือข่ายที่ใช้งานอยู่ในบริเวณที่ไม่กว้างนัก     อาจใช้อยู่ภายในอาคารเดียวกันหรืออาคารที่อยู่ใกล้กัน เช่น  ภายในมหาวิทยาลัย  อาคารสำนักงาน  คลังสินค้า หรือโรงงาน เป็นต้น  การส่งข้อมูลสามารถทำได้ด้วยความเร็วสูง และมีข้อผิดพลาดน้อย ระบบเครือข่ายระดับท้องถิ่นจึงถูกออกแบบมาให้ช่วยลดต้นทุนและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ ร่วมกัน


1.2 MAN (Metropolitan Area Network) : ระบบเครือข่ายระดับเมือง
เป็นระบบเครือข่ายที่มีขนาดอยู่ระหว่าง Lan และ Wan เป็นระบบเครือข่ายที่ใช้ภายในเมืองหรือจังหวัดเท่านั้น การเชื่อมโยงจะต้องอาศัยระบบบริการเครือข่ายสาธารณะ จึงเป็นเครือข่ายที่ใช้กับองค์การที่มีสาขาห่างไกลและต้องการเชื่อมสาขาเหล่านั้นเข้าด้วยกัน เช่น ธนาคาร   เครือข่ายแวนเชื่อมโยงระยะไกลมาก จึงมีความเร็วในการสื่อสารไม่สูง เนื่องจากมีสัญญาณรบกวนในสาย เทคโนโลยีที่ใช้กับเครือข่ายแวนมีความหลากหลาย มีการเชื่อมโยงระหว่างประเทศด้วยช่องสัญญาณดาวเทียม เส้นใยนำแสง คลื่นไมโครเวฟ คลื่นวิทยุ สายเคเบิล


1.3 WAN (Wide Area Network) : ระบบเครือข่ายระดับประเทศ หรือเครือข่ายบริเวณกว้าง
เป็นระบบเครือข่ายที่ติดตั้งใช้งานอยู่ในบริเวณกว้าง เช่น ระบบเครือข่ายที่ติดตั้งใช้งานทั่วโลก เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่อยู่ห่างไกลกันเข้าด้วยกัน อาจจะต้องเป็นการติดต่อสื่อสารกันในระดับประเทศ ข้ามทวีปหรือทั่วโลกก็ได้ ในการเชื่อมการติดต่อนั้น จะต้องมีการต่อเข้ากับระบบสื่อสารขององค์การโทรศัพท์หรือการสื่อสารแห่งประเทศไทยเสียก่อน เพราะจะเป็นการส่งข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ในการติดต่อสื่อสารกันโดยปกติมีอัตราการส่งข้อมูลที่ต่ำและมีโอกาสเกิดข้อผิดพลาด การส่งข้อมูลอาจใช้อุปกรณ์ในการสื่อสาร เช่น โมเด็ม (Modem) มาช่วย


2. ใช้ลักษณะหน้าที่การทำงานของคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายเป็นเกณฑ์ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทดังนี้
2.1 Peer-to-Peer Network หรือเครือข่ายแบบเท่าเทียม
        เป็นการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่ละเครื่อง จะสามารถแบ่งทรัพยากรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นไฟล์หรือเครื่องพิมพ์ซึ่งกันและกันภายในเครือข่ายได้ เครื่องแต่ละเครื่องจะทำงานในลักษณะที่ทัดเทียมกัน ไม่มีเครื่องใดเครื่องเครื่องหนึ่งเป็นเครื่องหลักเหมือนแบบ Client / Server แต่ก็ยังคงคุณสมบัติพื้นฐานของระบบเครือข่ายไว้เหมือนเดิม การเชื่อมต่อแบบนี้มักทำในระบบที่มีขนาดเล็กๆ เช่น หน่วยงานขนาดเล็กที่มีเครื่องใช้ไม่เกิน 10 เครื่อง การเชื่อมต่อแบบนี้มีจุดอ่อนในเรื่องของระบบรักษาความปลอดภัย แต่ถ้าเป็นเครือข่ายขนาดเล็ก และเป็นงานที่ไม่มีข้อมูลที่เป็นความลับมากนัก เครือข่ายแบบนี้ ก็เป็นรูปแบบที่น่าเลือกนำมาใช้ได้เป็นอย่างดี

2.2 Client-Server Network หรือเครือข่ายแบบผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการ
          เป็นระบบที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องมีฐานะการทำงานที่เหมือน ๆ กัน เท่าเทียมกันภายในระบบ เครือข่าย แต่จะมีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่อง Server ที่ทำหน้าที่ให้บริการทรัพยากรต่าง ๆ ให้กับ เครื่อง Client หรือเครื่องที่ขอใช้บริการ ซึ่งอาจจะต้องเป็นเครื่องที่มีประสิทธิภาพที่ค่อนข้างสูง ถึงจะทำให้การให้บริการมีประสิทธิภาพตามไปด้วย ข้อดีของระบบเครือข่าย Client - Server เป็นระบบที่มีการรักษาความปลอดภัยสูงกว่า ระบบแบบ Peer To Peer เพราะว่าการจัดการในด้านรักษาความปลอดภัยนั้น จะทำกันบนเครื่อง Server เพียงเครื่องเดียว ทำให้ดูแลรักษาง่าย และสะดวก มีการกำหนดสิทธิการเข้าใช้ทรัพยากรต่าง ๆให้กับเครื่องผู้ขอใช้บริการ หรือเครื่องClient


3. ใช้ระดับความปลอดภัยของข้อมูลเป็นเกณฑ์  
การแบ่งประเภทเครือข่ายตามระดับความปลอดภัยของข้อมูล ซึ่งจะแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทคือ อินเทอร์เน็ต (Internet) อินทราเน็ต (Intranet) และ เอ็กส์ทราเน็ต (Extranet) อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายสาธารณะที่ทุกคนสามารถเชื่อมต่อเข้าได้ เครือข่ายนี้จะไม่มีความปลอดภัยของข้อมูลเลย ถ้าทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลที่แชร์ไว้บนอินเทอร์เน็ตได้ ในทางตรงกันข้าม อินทราเน็ตเป็นเครือข่ายส่วนบุคคล ข้อมูลจะถูกแชร์เฉพาะผู้ที่ใช้อยู่ข้างในเท่านั้น หรือผู้ใช้อินเทอร์เน็ตไม่สามารถเข้ามาดูข้อมูลในอินทราเน็ตได้ ถึงแม้ว่าทั้งสองเครือข่ายจะมีการเชื่อมต่อกันอยู่ก็ตาม ส่วนเอ็กทราเน็ตนั้นเป็นเครือข่ายแบบกึ่งอินเทอร์เน็ตและอินทราเน็ตกล่าวคือ การเข้าใช้เอ็กส์ทราเน็ตนั้นมีการควบคุม เอ็กส์ทราเน็ตส่วนใหญ่จะเป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อระหว่างองค์กรเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลบางอย่างซึ่งกันและกัน ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลนี้ต้องมีการควบคุม เพราะเฉพาะข้อมูลบางอย่างเท่านั้นที่ต้องการแลกเปลี่ยน

3.1 อินเทอร์เน็ต (Internet) เครือข่ายสาธารณะ

อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่ครอบคลุมทั่วโลก ซึ่งมีคอมพิวเตอร์เป็นล้านๆเครื่องเชื่อมต่อเข้ากับระบบและยังขยายตัวขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี    อินเทอร์เน็ตมีผู้ใช้ทั่วโลกหลายร้อยล้านคน และผู้ใช้เหล่านี้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันได้อย่างอิสระ   โดยที่ระยะทางและเวลาไม่เป็นอุปสรรค     นอกจากนี้ผู้ใช้ยังสามารถเข้าดูข้อมูลต่าง ๆ  ที่ถูกตีพิมพ์ในอินเทอร์เน็ตได้   อินเทอร์เน็ตเชื่อมแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เข้าด้วยกันไม่ว่าจะเป็นองค์กรธุรกิจ มหาวิทยาลัย หน่วยงานของรัฐบาล หรือแม้กระทั่งแหล่งข้อมูลบุคคล องค์กรธุรกิจหลายองค์กรได้ใช้อินเทอร์เน็ตช่วยในการทำการค้า เช่น การติดต่อซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ตหรืออีคอมเมิร์ช (E-Commerce) ซึ่งเป็นอีกช่องทางหนึ่งสำหรับการทำธุรกิจที่กำลังเป็นที่นิยม     เนื่องจากมีต้นทุนที่ถูกกว่าและมีฐานลูกค้าที่ใหญ่มาก   ส่วนข้อเสียของอินเทอร์เน็ตคือ   ความปลอดภัยของข้อมูล   เนื่องจากทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลทุกอย่างที่แลกเปลี่ยนผ่านอินเทอร์เน็ตได้
อินเทอร์เน็ตใช้โปรโตคอลที่เรียกว่า “TCP/IP (Transport Connection Protocol/Internet Protocol)” ในการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่าย ซึ่งโปรโตคอลนี้เป็นผลจากโครงการหนึ่งของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ โครงการนี้มีชื่อว่า ARPANET (Advanced Research Projects Agency Network) ในปี ค.ศ.1975 จุดประสงค์ของโครงการนี้เพื่อเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่างไกลกัน และภายหลังจึงได้กำหนดให้เป็นโปรโตคอลมาตรฐานในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตได้กลายเป็นเครือข่ายสาธารณะ ซึ่งไม่มีผู้ใดหรือองค์กรใดองค์กรหนึ่งเป็นเจ้าของอย่างแท้จริง การเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ตต้องเชื่อมต่อผ่านองค์กรที่เรียกว่า “ISP (Internet Service Provider)” ซึ่งจะทำหน้าที่ให้บริการในการเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต นั่นคือ ข้อมูลทุกอย่างที่ส่งผ่านเครือข่าย ทุกคนสามารถดูได้ นอกเสียจากจะมีการเข้ารหัสลับซึ่งผู้ใช้ต้องทำเอง


3.2 อินทราเน็ต (Intranet) หรือเครือข่ายส่วนบุคคล

ตรงกันข้ามกับอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ตเป็นเครือข่ายส่วนบุคคลที่ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต เช่น เว็บ, อีเมล, FTP เป็นต้น อินทราเน็ตใช้โปรโตคอล TCP/IP สำหรับการรับส่งข้อมูลเช่นเดียวกับอินเทอร์เน็ต ซึ่งโปรโตคอลนี้สามารถใช้ได้กับฮาร์ดแวร์หลายประเภท และสายสัญญาณหลายประเภท ฮาร์ดแวร์ที่ใช้สร้างเครือข่ายไม่ใช่ปัจจัยหลักของอินทราเน็ต แต่เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำให้อินทราเน็ตทำงานได้ อินทราเน็ตเป็นเครือข่ายที่องค์กรสร้างขึ้นสำหรับให้พนักงานขององค์กรใช้เท่านั้น การแชร์ข้อมูลจะอยู่เฉพาะในอินทราเน็ตเท่านั้น หรือถ้ามีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับโลกภายนอกหรืออินเทอร์เน็ต องค์กรนั้นสามารถที่จะกำหนดนโยบายได้ ในขณะที่การแชร์ข้อมูลอินเทอร์เน็ตนั้นยังไม่มีองค์กรใดที่สามารถควบคุมการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ เมื่อเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต พนักงานบริษัทของบริษัทสามารถติดต่อสื่อสารกับโลกภายนอกเพื่อการค้นหาข้อมูลหรือทำธุรกิจต่าง ๆ การใช้โปรโตคอล TCP/IP ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าใช้เครือข่ายจากที่ห่างไกลได้ (Remote Access) เช่น จากที่บ้าน หรือในเวลาที่ต้องเดินทางเพื่อติดต่อธุรกิจ การเชื่อมต่อเข้ากับอินทราเน็ต โดยการใช้โมเด็มและสายโทรศัพท์ ก็เหมือนกับการเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต แต่แตกต่างกันที่เป็นการเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายส่วนบุคคลแทนที่จะเป็นเครือข่ายสาธารณะอย่างเช่นอินเทอร์เน็ต การเชื่อมต่อกันได้ระหว่างอินทราเน็ตกับอินเทอร์เน็ตถือเป็นประโยชน์ที่สำคัญอย่างหนึ่ง
ระบบการรักษาความปลอดภัยเป็นสิ่งที่แยกอินทราเน็ตออกจากอินเทอร์เน็ต เครือข่ายอินทราเน็ตขององค์กรจะถูกปกป้องโดยไฟร์วอลล์ (Firewall) ซึ่งอาจจะเป็นได้ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่กรองข้อมูลที่แลกเปลี่ยนกันระหว่างอินทราเน็ตและอินเทอร์เน็ตเมื่อทั้งสองระบบมีการเชื่อมต่อกัน ดังนั้นองค์กรสามารถกำหนดนโยบายเพื่อควบคุมการเข้าใช้งานอินทราเน็ตได้
อินทราเน็ตสามารถสนองความต้องการของผู้ใช้ในองค์กรได้หลายอย่าง ความง่ายในการตีพิมพ์บนเว็บทำให้เป็นที่นิยมในการประกาศข่าวสารขององค์กร เช่น ข่าวภายในองค์กร กฎ ระเบียบ และมาตรฐาน การปฏิบัติงานต่าง ๆ เป็นต้น หรือแม้กระทั่งการเข้าถึงฐานข้อมูลขององค์กรก็ง่ายเช่นกัน ผู้ใช้สามารถทำงานร่วมกันได้ง่าย และมีประสิทธิภาพมากขึ้น

3.3
เอ็กส์ทราเน็ต (Extranet) หรือเครือข่ายร่วม

เอ็กส์ทราเน็ต (Extranet) เป็นเครือข่ายกึ่งอินเทอร์เน็ตกึ่งอินทราเน็ต กล่าวคือ เอ็กส์ทราเน็ตคือเครือข่ายที่เชื่อมต่อระหว่างอินทราเน็ตของสององค์กร ดังนั้นจะมีบางส่วนของเครือข่ายที่เป็นเจ้าของร่วมกันระหว่างสององค์กรหรือบริษัท การสร้างอินทราเน็ตจะไม่จำกัดด้วยเทคโนโลยี แต่จะยากตรงนโยบายที่เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่ทั้งสององค์กรจะต้องตกลงกัน เช่น องค์กรหนึ่งอาจจะอนุญาตให้ผู้ใช้ของอีกองค์กรหนึ่งล็อกอินเข้าระบบอินทราเน็ตของตัวเองหรือไม่ เป็นต้น การสร้างเอ็กส์ทราเน็ตจะเน้นที่ระบบการรักษาความปลอดภัยข้อมูล รวมถึงการติดตั้งไฟร์วอลล์หรือระหว่างอินทราเน็ตและการเข้ารหัสข้อมูลและสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ นโยบายการรักษาความปลอดภัยข้อมูลและการบังคับใช้


วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2555

การใส่เลขหน้าให้กับเอกสาร

การแทรกหมายเลขหน้า

คุณสามารถเพิ่มหมายเลขหน้าซึ่งสัมพันธ์กับหัวกระดาษและท้ายกระดาษไปที่ด้านบน ด้านล่าง หรือที่ระยะขอบของเอกสารได้ ข้อมูลที่จัดเก็บในหัวกระดาษและท้ายกระดาษหรือระยะขอบจะปรากฏเป็นสีจางลง และไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ในเวลาเดียวกันกับข้อความในเนื้อความของเอกสาร
เมื่อต้องการเปลี่ยนแปลงหัวกระดาษหรือท้ายกระดาษหรือข้อมูลในระยะขอบกระดาษ ให้ทำดังต่อไปนี้ คือ คลิกสองครั้งที่หัวกระดาษหรือท้ายกระดาษ จากนั้นคลิกแท็บ หัวกระดาษ & ท้ายกระดาษ ในหัวข้อ เครื่องมือหัวกระดาษ & ท้ายกระดาษ
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับหัวกระดาษและท้ายกระดาษ ให้ดู แทรกหัวกระดาษและท้ายกระดาษ
คุณต้องการทำสิ่งใด


ฉันไม่เห็นการออกแบบหมายเลขหน้าในแกลเลอรีเลย

ถ้าคุณไม่เห็นการออกแบบหัวกระดาษและท้ายกระดาษที่มีอยู่แล้วภายในแกลเลอรี Add-in แบบเอกสารสำเร็จรูปอาจไม่พร้อมใช้งาน เมื่อต้องการตรวจสอบให้แน่ใจว่าการออกแบบที่มีอยู่แล้วภายในปรากฏขึ้นในแกลเลอรีแบบเอกสารสำเร็จรูป Microsoft Office Word 2007 ทั้งหมด ให้ทำดังนี้
  1. คลิก ปุ่ม Microsoft Office รูปปุ่ม แล้วคลิก ตัวเลือกของ Word
  1. คลิก Add-in
  2. ในรายการ จัดการ ให้เลือก รายการที่ปิดใช้งาน แล้วคลิก ไป
  3. คลิก แบบเอกสารสำเร็จรูป.dotx แล้วคลิก เปิดใช้งาน
  4. เริ่ม Word ใหม่

แทรกหมายเลขหน้า

คุณสามารถเลือกได้จากการออกแบบลำดับเลขหน้าหลายหน้าที่พร้อมใช้งานในแกลเลอรี

แทรกหมายเลขหน้าหรือหมายเลขหน้าแบบ "หน้า X จาก Y"

  1. บนแท็บ แทรก ในกลุ่ม หัวกระดาษและท้ายกระดาษ ให้คลิก หมายเลขหน้า
รูป Ribbon ของ Word
  1. คลิก ด้านบนของหน้ากระดาษ หรือ ด้านล่างของหน้ากระดาษ หรือ ระยะขอบกระดาษ ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่คุณต้องการให้หมายเลขหน้าปรากฏขึ้นในเอกสารของคุณ
  2. เลือกการออกแบบลำดับเลขหน้าจากแกลเลอรีการออกแบบ ซึ่งแกลเลอรีนี้จะมีตัวเลือก "หน้า X จาก Y"
ด้านบนของหน้า ด้านบนของหน้า

จัดรูปแบบหมายเลขหน้า

หลังจากที่คุณเพิ่มหมายเลขหน้า คุณสามารถเปลี่ยนแปลงหมายเลขหน้าได้แบบเดียวกับที่คุณเปลี่ยนแปลงข้อความในหัวกระดาษหรือท้ายกระดาษ เปลี่ยนได้ทั้งรูปแบบของหมายเลขหน้า แบบอักษร หรือขนาด

การเปลี่ยนแปลงรูปแบบหมายเลขหน้า เช่น 1, i หรือ a

  1. คลิกสองครั้งที่หัวกระดาษหรือท้ายกระดาษของหน้ากระดาษเอกสารของคุณหน้าใดหน้าหนึ่ง
  2. ใต้ เครื่องมือหัวกระดาษและท้ายกระดาษ บนแท็บ ออกแบบ ในกลุ่ม เครื่องมือหัวกระดาษและท้ายกระดาษ ให้คลิก หมายเลขหน้า แล้วคลิก จัดรูปแบบหมายเลขหน้า
  1. ในกล่อง รูปแบบตัวเลข ให้คลิกลักษณะลำดับเลข จากนั้นคลิก ตกลง

เปลี่ยนแบบอักษรและขนาดของหมายเลขหน้า

  1. คลิกสองครั้งที่หัวกระดาษ ท้ายกระดาษ หรือระยะขอบกระดาษของหน้ากระดาษเอกสารของคุณหน้าใดหน้าหนึ่ง
  2. เลือกหมายเลขหน้า
  3. บนแถบเครื่องมือขนาดเล็กที่ปรากฏเหนือหมายเลขหน้าที่เลือก ให้เลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้
    • เมื่อต้องการเปลี่ยนแบบอักษร ให้คลิกชื่อแบบอักษรในกล่อง กล่องแบบอักษร
    • เมื่อต้องการทำให้ขนาดแบบอักษรใหญ่ขึ้นหรือเล็กลง ให้เลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้
      • เมื่อต้องการทำให้ข้อความใหญ่ขึ้น ให้คลิก ขยายขนาดแบบอักษร หรือกด CTRL+SHIFT+>
      • เมื่อต้องการทำให้ข้อความเล็กลง ให้คลิก ลดขนาดแบบอักษร หรือกด CTRL+SHIFT+<
 หมายเหตุ   คุณยังสามารถระบุขนาดแบบอักษรบนแท็บ หน้าแรก ในกลุ่ม แบบอักษร
ด้านบนของหน้า ด้านบนของหน้า

เริ่มหรือเริ่มลำดับเลขหน้าใหม่

ให้เลือกทำดังต่อไปนี้

เริ่มลำดับเลขหน้าด้วยตัวเลขต่างๆ

ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณเพิ่มหน้าปกลงในเอกสารที่มีหมายเลขหน้า หน้าที่สองจะมีลำดับเลขหน้าเป็น 2 โดยอัตโนมัติ ซึ่งคุณอาจต้องการให้เอกสารเริ่มต้นด้วยหน้า 1
  1. คลิกที่ใดก็ได้ในเอกสาร
  2. บนแท็บ แทรก ในกลุ่ม หัวกระดาษและท้ายกระดาษ ให้คลิก หมายเลขหน้า
รูป Ribbon ของ Word
  1. คลิก จัดรูปแบบหมายเลขหน้า
  2. ในกล่อง เริ่มที่ ให้ใส่ตัวเลข
 หมายเหตุ   ถ้าคุณมีหน้าปกและคุณต้องการให้หน้าแรกของเอกสารเริ่มต้นที่ 1 ให้พิมพ์ 0 ในกล่อง เริ่มที่

เริ่มลำดับเลขหน้าใหม่ด้วย 1 สำหรับแต่ละบทหรือแต่ละส่วน

ตัวอย่างเช่น คุณสามารถให้หมายเลขสารบัญเป็น i ถึง iv และเอกสารที่เหลือเป็น 1 ถึง 25 ถ้าเอกสารของคุณมีหลายบท คุณอาจต้องการเริ่มลำดับเลขหน้าใหม่สำหรับแต่ละบท
  1. คลิกในส่วน (ส่วน: ส่วนของเอกสารที่คุณได้ตั้งตัวเลือกการจัดรูปแบบหน้าบางอย่างเอาไว้ คุณต้องสร้างส่วนใหม่เมื่อคุณต้องการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของลำดับเลขบรรทัด จำนวนคอลัมน์ หรือหัวกระดาษและท้ายกระดาษ)ที่คุณต้องการเริ่มลำดับเลขหน้าใหม่
  2. บนแท็บ แทรก ในกลุ่ม หัวกระดาษและท้ายกระดาษ ให้คลิก หมายเลขหน้า
รูป Ribbon ของ Word
  1. คลิก จัดรูปแบบหมายเลขหน้า
  2. ในกล่อง เริ่มที่ ให้ใส่ 1
ด้านบนของหน้า ด้านบนของหน้า

เอาหมายเลขหน้าออก

Microsoft Office Word 2007 จะเอาหมายเลขหน้าออกหรือลบหมายเลขหน้าโดยอัตโนมัติเมื่อคุณคลิก เอาหมายเลขหน้าออก หรือเมื่อคุณเอาหมายเลขหน้าเดี่ยวออกจากเอกสารด้วยตนเอง
  1. บนแท็บ แทรก ในกลุ่ม หัวกระดาษและท้ายกระดาษ ให้คลิก หมายเลขหน้า
รูป Ribbon ของ Word
  1. คลิก เอาหมายเลขหน้าออก
 หมายเหตุ   ถ้าคุณได้สร้างหัวกระดาษหรือท้ายกระดาษแบบหน้าแรก หรือแบบหน้าคี่และหน้าคู่ที่ต่างกัน หรือถ้าคุณมีส่วนต่างๆ ที่ไม่ได้เชื่อมโยงกัน ให้ตรวจสอบให้แน่ใจว่าเอาหมายเลขหน้าจากหัวกระดาษหรือท้ายกระดาษที่ต่างกันแต่ละหน้าออกแล้ว

การสร้างตารางที่ซับซ้อน

  


 
การสร้างตารางในเอกสารHome Up Excel Powerpoint Access
ในการใช้ตารางเพื่อทำการจัดระเบียบของข้อมูลและสร้างโครงร่างหน้ากระดาษที่น่าสนใจพร้อมกับคอลัมน์ติดกันของข้อความ และกราฟิกส์ ตัวอย่างเช่น ตารางที่มีจำนวนของแถวและคอลัมน์เท่ากัน วิธีที่เร็วที่สุดในการสร้างตารางอย่างง่ายก็คือ คลิกปุ่ม แทรกตาราง  ด้วยคุณสมบัติการวาดตารางใหม่ คุณสามารถสร้างตารางที่ซับซ้อนได้อย่างง่าย ตัวอย่างเช่น ตารางที่เก็บเซลล์ ที่มีความสูงต่างกันหรือจำนวนสดมภ์ต่อแถวที่แตกต่างกัน คล้ายๆ กับวิธีการใช้ปากกาในการวาดตารางคุณสามารถสร้างตาราง ว่างเปล่าและใส่ค่าในเซลล์ที่ว่าง หรือคุณสามารถแปลงย่อหน้าของข้อความที่มีอยู่ (แบ่งโดยตัวอักษรตัวหนึ่งอย่างเช่น แท็บ) ลงในตาราง คุณยังสามารถสร้างตารางจากข้อมูลต้นฉบับที่มีอยู่ เช่น ฐานข้อมูลหรือกระดาษคำนวณ)
การสร้างตารางอย่างง่าย
เราจะพบกับเมนูในการสร้างตารางอยู่จากนั้นเราก็จะใช้เมาส์ทำการคลิกบนตำแหน่งที่คุณต้องการจะสร้างตาราง
1 ใช้เมาส์คลิกเลือกปุ่มแทรกตาราง 
2 ใช้เมาส์ลากตรงตารางเพื่อเลือกจำนวนแถวและคอลัมน์ที่คุณต้องการ แล้วกดเมาส์หนึ่งครั้งก็จะได้ตารางออกมา

การสร้างตารางที่ซับซ้อน
1 คลิกตำแหน่งที่คุณต้องการสร้างตาราง
2 ถ้าแถบเครื่องมือ ตารางและเส้นขอบ ไม่แสดงอยู่ ให้คลิกที่ตารางและเส้นขอบแถบเครื่องมือจะปรากฏ  และตัวชี้เปลี่ยนเป็นปากกา
3 ถ้าแถบเครื่องมือตารางและเส้นขอบ แสดงอยู่แล้วให้คลิกตรงการวาดตาราง   ตัวชี้จะเปลี่ยนเป็นปากกา 
4 เมื่อต้องการกำหนดขอบเขตด้านนอกของตาราง ให้วาดโดยการลากจากมุมหนึ่งไปยังมุมทแยงของตาราง   แล้ววาดเส้นคอลัมน์และเส้นแถว ก็จะได้ตารางที่ซับซ้อนตามที่เราต้องการได้ ดังรูป
5 เมื่อคุณสร้างตารางเสร็จแล้ว ให้คลิกที่เซลล์ และเริ่มพิมพ์หรือแทรกกราฟฟิกส์ตามที่คุณต้องการได้เลยโดยการที่ ใช้เมาส์คลิกที่บริเวณใดๆ ในตารางก็สามารถพิมพ์หรือแทรกกราฟฟิกส์ได้

การลบตารางหรือการลบรายการออกจากตาราง
    คุณสามารถลบเซลล์แถว หรือคอลัมน์แบบเดี่ยวๆ หรือแบบรวมได้ และคุณสามารถลบทั้งตาราง ล้างเนื้อหาของเซลล์ได้ โดยปราศจากการลบเซลล์นั้นๆ ออก
    การลบตารางและเนื้อหาในตารางทั้งหมด
1 เลือกตารางโดยการคลิก แล้วกดแป้น <ALT+5 >บนแป้นตัวเลข (แป้น NUM LOCK จะต้องปิดโดยที่ไม่มีไฟติด) จะได้ออกมาดังรูป
2 คลิก ตัด 

การลบบางส่วนของตาราง
            ถ้าคุณวาดเส้นเพื่อกำหนดตารางผิดไป วิธีแก้ไขทำได้ง่ายๆ โดยใช้ยางลบลบเส้นที่ไม่ต้องการทิ้งไป ดังนี้
1 Click mouse ที่ปุ่ม ตัวชี้ จะเปลี่ยนเป็น
2 Drag mouse ทับเส้นที่ต้องการลบดังรูปที่1 แล้วเมื่อปล่อยก็จะลบเส้นที่เรากำหนดได้ดังรูปที่ 2

การล้างเนื้อหาของตาราง
1 เลือกรายการที่คุณต้องการล้างโดยทำให้ข้อความในตารางนั้นเป็นสีทึบเสียก่อน
2 เมื่อข้อความเป็นสีทึบแล้วก็กดแป้น DELETE จะทำให้ข้อความที่คุณเลือกนั้นหายไป การเพิ่มแถวหรือคอลัมน์ที่ตารางได้
1 ต้องการเพิ่มแถวให้ click mouse เลือกแถวทั้งแถว
2 click mouse ปุ่มขวาบริเวณแถบดำ หรือเลือกที่เมนู Table หรือ ตาราง
3 click mouse เลือก Insert Rows หรือแทรกแถว ก็จะได้แถวเพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งแถว
การแทรกแถว
4 ถ้าต้องการเพิ่มคอลัมน์ก็ให้ click mouse เลือกคอลัมน์ที่จะแทรก
5 click mouse ปุ่มขวาบริเวณแถบดำ หรือเลือกที่เมนู Table หรือ ตาราง
6 click mouse เลือก Insert columns หรือแทรกคอลัมน์ ก็จะได้คอลัมน์เพิ่มอีกหนึ่งคอลัมน์
การแทรกคอลัมน์

การเปลี่ยนแปลงความสูงของแถวในตารางและคอลัมน์
       ในเอกสาร Word ความสูงของแต่ละแถวในตารางขึ้นอยู่กับเนื้อหาของเซลล์ในแถวนั้น และระยะห่างระหว่างย่อหน้า ที่คุณเพิ่มเข้าไปก่อนหรือหลังข้อความนอกจากว่าคุณได้กำหนดเป็นอีกแบบหนึ่งโดยทำดังนี้
1 เลือกแถวที่คุณต้องการเปลี่ยน
2 บนเมนู ตาราง ให้คลิกเลือกที่หัวข้อ ความสูงและความกว้างเซลล์  แล้วเลือกตรงคำว่า แถว
3 แล้วเลือกตัวเลือกที่คุณต้องการ โดยการคุณสามารถคลิกที่ปุ่ม เป็นการเพิ่มหรือลดขนาดของแถว
4 เมื่อกำหนดเสร็จแล้วก็คลิกปุ่ม OK ก็เป็นการเสร็จ

การเปลี่ยนแปลงระยะห่างระหว่างคอลัมน์ในตาราง
1 คลิกตารางเลือกคอลัมน์ที่ต้องการจะเปลี่ยนแปลง
2 บนเมนู ตาราง ให้คลิก ความสูงและความกว้างเซลล์ แล้วเลือกตรงคำว่าคอลัมน์
3 ในกล่อง ระยะห่างระหว่างคอลัมน์ ให้ใส่ตัวเลขลงไป หรือ คลิกที่ ก็สามารถกำหนดให้มากหรือน้อยก็ได้

การเพิ่มสีสันให้กับตาราง
   การเพิ่มสีสันให้กับตารางก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้งานของคุณน่าดูขึ้นอีกมาก วิธีการใส่สีสันให้กับตารางก็ไม่มีอะไร ยุ่งยากมากเท่าไรมีวิธีดังนี้
1 ใช้เมาส์เลือกส่วนของตารางที่จะให้เปลี่ยนแปลง
2 คลิกเมาส์ที่ลูกศรปุ่ม สำหรับการเปลี่ยนแปลงสีพื้นตาราง และ ปุ่ม สำหรับเปลี่ยนสีของเส้น ก็จะมีสีให้เลือกมากมาย
3 คลิกเมาส์เลือกสีที่คุณต้องการ ก็จะได้ตารางที่มีสีสันสวยงามตามแบบที่เราเลือก