จำนวนผู้เข้าชม

วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2555

เทคโนโลยีของคนไทย

มีมากมายหลากหลายบอร์ดให้เลือก ค่ะ

ค้นหากระทู้



Hot Group!   น่าติดตาม

ดูทั้งหมด Group คืออะไร

จมูกอิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยีเหนือระดับของคนไทย คนไทยไม่แพ้ชาติใดในโลก

บอร์ดมีสาระ > ความรู้รอบตัว เลขกระทู้ 2029463 เข้าชม 598 ตอบ 1 คะแนนโหวต 2
wordjunctionNew Member
  • Name : wordjunction < My.iD > ดูเน็ตเวิร์คอื่นๆ ของ wordjunction [ IP : 58.8.144.88 ]
  • Email / Msn: -
  • วันที่: 14 มกราคม 2554 / 15:37
 

จมูกอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Nose)

เป็นโครงการร่วมวิจัยระหว่าง NECTEC, MTEC, NANOTEC, มหาวิทยาลัยมหิดล และบริษัทเอกชนที่สนใจนำไปใช้ ได้แก่ ไร่ไวน์กรานมอนเต้ เขาใหญ่

โครงการวิจัยและพัฒนาระบบตรวจวัดก๊าซด้วยเทคโนโลยีเซ็นเซอร์อาร์เรย์ เป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์ที่วิจัยและพัฒนาและสร้างความสามารถ(Capability) ในการผลิตเชิงพาณิชย์หัววัดเซ็นเซอร์ขนาดเล็กสำหรับวัดก๊าซที่ใช้เทคโนโลยีเซ็นเซอร์หลายชนิดรวมกัน ได้แก่ เทคโนโลยีฟิล์มบาง เทคโนโลยีระบบเครื่องกลไฟฟ้าจุลภาค (MEMS)และนาโนเทคโนโลยี โดยเน้นที่เซ็นเซอร์สำหรับตรวจวัดกลิ่น เพื่อผลิตระบบตรวจวัดกลิ่นแบบฉลาด (Electronic olfactory sensing system) ซึ่งสามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและการตรวจวัดสภาพแวดล้อม ซึ่งเป็นองค์ความรู้เพื่อนำไปใช้ในการสร้างเครื่องมือตรวจวัดต่างๆ เช่น เครื่องตรวจวัดความสดของอาหาร วัดการบูดหรือเน่าเสียในอาหาร เครื่องตรวจวัดคุณภาพของเครื่องดื่ม ที่มีความเที่ยงตรงสูงกว่าแบบเดิม เป็นต้น โดยมีการประมวลผลชนิดของก๊าซเพื่อความแม่นยำในการตรวจวัด และมีความไวในการตรวจวัดที่สูงมาก


เหตุผลที่วิจัย เนื่องจากความสามารถในการบ่งชนิดของกลิ่นในมนุษย์นั้นไม่คงที่และมีข้อจำกัดจากปัจจัยกระตุ้นภายนอก ทั้งความอ่อนล้า อารมณ์ สภาพอากาศหรืออุณหภูมิขึ้น เซนเชอร์อัจฉริยะอาศัยหลักการเดียวกับการรับรู้กลิ่นของมนุษย์ เรียกว่า "จมูกอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Nose)" หรือ "ระบบตรวจวัดกลิ่นด้วยอาร์เรย์เซนเซอร์" จะช่วยลดข้อจำกัดของจำแนกกลิ่นของผู้เชี่ยวชาญที่อาศัยประสาทสัมผัส โดยใช้การส่งสัญญาณที่แตกต่างกันของพอลิเมอร์แต่ละชนิดในจมูกเทียม เพื่อใช้จดจำและจำแนกสารเคมีต่างๆ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างกว้างขวาง โดยกลิ่นเป็นสารเคมีระเหย (Volatile chemical) ที่มีขนาดโมเลกุลไม่เกิน 300 ดาลตัน (Daltons) ซึ่งมนุษย์และสัตว์จะมีตัวตรวจจับสารเคมีของกลิ่น (olfactory) ที่ส่งสัญญาณไปยังสมองเพื่อประมวลว่าเป็นสัญญาณของกลิ่นใด ทั้งนี้การรับรู้กลิ่นเกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาน้อยมากเนื่องจากระหว่างกระบวนการรับรู้กลิ่นโมเลกุลของกลิ่นไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลง จมูกอิเล็กทรอนิกส์ก็อาศัยหลักการคล้ายๆ กัน โดยจะใช้เซนเซอร์ที่ความต้านทานไฟฟ้าเปลี่ยนไปเมื่อดูดซับสารเคมีระเหย (conductometric chemosensor) ซึ่งตัวอุปกรณ์ประกอบไปด้วยฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ซึ่งฮาร์ดแวร์จะมีเซนเซอร์ที่ไม่เฉพาะเจาะจงกับเพียงสารเคมีตัวใดตัวหนึ่ง และเซนเซอร์แต่ละตัวก็มีความไวต่อสารเคมีระเหยไม่เท่ากัน ซึ่งซอฟต์แวร์ก็จะนำสัญญาณจากเซนเซอร์แต่ละตัวมาประมวลเพื่อจำแนกกลิ่นได้ ในส่วนของเซนเซอร์ทำจากโพลิเมอร์นำไฟฟ้าที่มีอนุภาคนำไฟฟ้าซึ่งอาจเป็น พอลิเมอร์นำไฟฟ้า คาร์บอน หรือผงโลหะ กระจายตัวอยู่ในเนื้อพอลิเมอร์ มีลักษณะเป็นโครงข่ายต่อเนื่องเพื่อเป็นเส้นทางให้อิเล็กตรอนเคลื่อนที่จากขั้วไฟฟ้าหนึ่งไปยังอีกขั้วได้ เมื่อมีสารเคมีระเหยเข้ามาสัมผัสจะทำให้โครงข่ายของอนุภาคตัวนำไฟฟ้าขยายตัวและเส้นทางเดินของอิเล็กตรอนบางตัวถูกตัดขาด ซึ่งจะทำให้ความต้านทานไฟฟ้าเพิ่มขึ้น และพอลิเมอร์จะกลับเข้าสู่สภาพเดิมเมื่อสารเคมีระเหยถูกปล่อยออกไป ระบบตรวจวัดกลิ่นด้วยอาร์เรย์เซนเซอร์ดังกล่าวจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบคุณภาพอาหารด้วยกลิ่นโดยผู้เชี่ยวชาญที่มีมานานแล้ว แต่ส่วนใหญ่จำกัดกับผลผลิตที่มีราคาแพง เพราะผู้เชี่ยวชาญที่มีพรสวรรค์และผ่านการฝึกฝนมีอยู่จำกัด ประกอบกับไม่สามารถทำงานให้มีความแม่นยำได้ต่อเนื่อง ซึ่งระบบดังกล่าวจะช่วยให้ขั้นตอนการตรวจสอบมีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น


ประโยชน์ของจมูกอิเล็กทรอนิกส์คืออาจจะใช้เป็นอุปกรณ์มาตรฐานในการจดจำและแยกแยะกลิ่นเพื่อทดแทนหรือเป็นส่วนเสริมการทำงานของมนุษย์หรือสัตว์ ข้อดีจากการมีอุปกรณ์มาตรฐานเพื่อจดจำและแยกแยะกลิ่นมีมากมาย ดังเช่นในอุตสาหกรรมอาหาร ทั้งก่อน ระหว่าง และหลังกระบวนการแปรรูป ยกตัวอย่างเช่น ความสดของผัก ผลไม้ หรือเนื้อสัตว์ หรือความสุกดิบของผลไม้ ก็จะมีกลิ่นต่างกัน ชนิด(สายพันธุ์) ของผัก ผลไม้ ก็มีกลิ่นต่างกัน เช่นข้าวหอมมะลิจะมีกลิ่นเฉพาะตัว การบ่มไวน์ซึ่งต้องการปัจจัยหลายประการการที่จะบ่งบอกว่าไวน์บ่มได้ที่หรือไม่ต้องอาศัยกลิ่นเป็นส่วนหนึ่งของการตรวจสอบ ซึ่งการตรวจสอบในปัจจุบันทำโดยผู้เชี่ยวชาญที่เป็นมนุษย์ที่ถูกฝึกมาเป็นพิเศษ การใช้เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์จึงเป็นประโยชน์ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม



วิจัยและพัฒนาโดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ, ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุ

ความรู้ของคนไทย

ความรู้ของมนุษย์ เกิดขึ้นได้อย่างไร

วันพุธที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ความเป็นมาของความรู้
การจัดการความรู้ (อังกฤษ: Knowledge management - KM) คือ การรวบรวม สร้าง จัดระเบียบ แลกเปลี่ยน และประยุกต์ใช้ความรู้ในองค์กร โดยพัฒนาระบบจาก ข้อมูล ไปสู่ สารสนเทศ เพื่อให้เกิด ความรู้ และ ปัญญา ในที่สุดการจัดการความรู้ประกอบไปด้วยชุดของการปฏิบัติงานที่ถูกใช้โดยองค์กรต่างๆ เพื่อที่จะระบุ สร้าง แสดงและกระจายความรู้ เพื่อประโยชน์ในการนำไปใช้และการเรียนรู้ภายในองค์กร อันนำไปสู่การจัดการสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการดำเนินการธุรกิจที่ดี องค์กรขนาดใหญ่โดยส่วนมากจะมีการจัดสรรทรัพยากรสำหรับการจัดการองค์ความรู้ โดยมักจะเป็นส่วนหนึ่งของแผนกเทคโนโลยีสารสนเทศหรือแผนกการจัดการทรัพยากรมนุษย์รูปแบบการจัดการองค์ความรู้โดยปกติจะถูกจัดให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ขององค์กรและประสงค์ที่จะได้ผลลัพธ์เฉพาะด้าน เช่น เพื่อแบ่งปันภูมิปัญญา,เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน, เพื่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน, หรือเพื่อเพิ่มระดับนวัตกรรมให้สูงขึ้น
มนุษย์
มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตชนิด Homo sapiens (ภาษาละติน: "มนุษย์ผู้รู้") ซึ่งจัดเป็นไพรเมตยืนสองขาชนิดหนึ่งในวงศ์ใหญ่ Hominoidea ร่วมกับลิงไม่มีหางหรือวานรอื่น ๆ ซึ่งได้แก่ ลิงชิมแปนซี, ลิงกอริลลา, ลิงอุรังอุตัง และชะนี
มนุษย์มีลำตัวตั้งตรงซึ่งทำให้รยางค์คู่บนว่างลงและใช้จัดการวัตถุสิ่งของต่างๆ ได้ มนุษย์ยังมีสมองซึ่งพัฒนาอย่างมากและมีความสามารถในการใช้เหตุผลเชิงนามธรรม, การพูด, การใช้ภาษา และการใคร่ครวญ
ในด้านพฤติกรรม ความเป็นมนุษย์นิยามด้วยการใช้ภาษา; การจัดโครงสร้างสังคมอันซับซ้อนในรูปของกลุ่ม, ชาติ, รัฐ และสถาบัน; และการพัฒนาเทคโนโลยีที่ซับซ้อน ความแตกต่างทางพฤติกรรมเหล่านี้ของมนุษย์ก่อให้เกิดวัฒนธรรมนับหมื่นนับพันวัฒนธรรม ซึ่งยึดถือความเชื่อ, ตำนาน, พิธีกรรม, คุณค่า และปทัสฐานทางสังคมต่างๆ กันไป
ความตระหนักถึงตนเอง, ความใคร่รู้ และการใคร่ครวญของมนุษย์ ตลอดจนความโดดเด่นกว่าสัตว์ชนิดอื่นๆ ก่อให้เกิดความพยายามที่จะอธิบายธรรมชาติและพัฒนาการของสิ่งมีชีวิตชนิดนี้ ทั้งในทางวัตถุธรรมและในทางนามธรรม คำอธิบายในทางนามธรรมนั้นจะเน้นมิติทางเจตภาพของชีวิต และอาจรวมถึงความเชื่อในพระเป็นเจ้า, เทพเจ้า หรือสิ่งเหนือธรรมชาติอื่น ๆ ตลอดจนแนวคิดเรื่องวิญญาณ ความพยายามที่จะสะท้อนภาพตัวเองของมนุษย์นั้นเป็นพื้นฐานของความคิดทางด้านปรัชญา และมีบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ตั้งแต่ยุคแรกๆ
แนวคิดเกี่ยวกับความรู้
ญาณวิทยา (epistemology) หมายถึง ศาสตร์หรือทฤษฎีเกี่ยวกับความรู้แท้ หรือความรู้ที่มีระบบ ในทางปรัชญา ความรู้ต้องเป็นความรู้ในความจริง เพราะฉะนั้นปัญหาญาณวิทยา จึงไม่ใช่เพียงว่า ความรู้คืออะไร แต่ยังเกี่ยวพันกับความจริงด้วย เช่น อะไรคือสิ่งที่เรารู้ มนุษย์รู้ความจริงได้หรือไม่ โดยวิธีใด ความจริงเป็นสิ่งสัมพัทธ์ (Relative) หรือเป็นสิ่งสัมบูรณ์ (Absolute) เป็นต้น
โปรตากอรัส (Protagoras)
มนุษย์คือมาตรการสำหรับทุกสิ่ง (Man is the measure of all things.) : ความรู้และความจริงเป็นอัตวิสัย
โปรตากอรัสเห็นว่าสิ่งที่เรียกว่า ความรู้นั้นเป็นเพียงความเห็นหรือทัศนะของแต่ละคน (subjective opinion) ความรู้ขึ้นอยู่กับผู้รู้แต่ละคน สิ่งที่ดูเหมือนเป็นความจริงสำหรับคนหนึ่ง ๆ ก็จะเป็นจริงสำหรับคน ๆ นั้น ไม่มีความจริงปรนัย (objective truth) ที่ใช้และยอมรับได้สำหรับทุกคน ดังนั้น สำหรับโปรตากอรัส ความรู้ที่เป็นสากล แน่นอนตายตัวสำหรับทุกคนจึงไม่มีอยู่ แม้กระทั่งความฝันก็อาจเป็นจริงได้สำหรับผู้ฝันกล่าวได้ว่า ความจริงในทัศนะของโปรตากอรัสเป็นสิ่งสัมพัทธ์ คือ เปลี่ยนแปลงได้ ไม่ตายตัว ไม่จริงแท้แน่นอน
แนวคิดของโปรตากอรัส ยังเสนออีกว่า มนุษย์ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องไปแสวงหาความรู้ที่เป็นสากลเพื่อเป็นมาตรฐานเดียวกัน เขาไม่เชื่อว่ามนุษย์จะสามารถมีความรู้ในสิ่งเป็นจริงสูงสุด (Absolute Reality)
ในฐานะนักคิดในลัทธิประสบการณ์นิยม (empiricism) โปรตากอรัส เน้นประสบการณ์ทางประสาทสัมผัส และเชื่อว่าประสาทสัมผัสเป็นสิ่งจริง (seeing is believing) การศึกษาไม่ใช่วิธีการเพื่อค้นหาว่าสิ่งใดจริงหรือเท็จ ครูอาจารย์ก็ไม่ใช่ผู้ที่จะบอกหรือแสดงความจริง เป็นเพียงผู้ชักชวนให้ผู้เรียนยอมรับคำพูดหรือความเชื่อของครูอาจารย์เท่านั้น ส่วนการตัดสินใจยอมรับเป็นเรื่องของแต่ละบุคคล
(Socrates)
โสคราตีส เชื่อว่าความรู้เป็นสิ่งสัมบูรณ์ คือ เป็นสากล เที่ยงแท้แน่นอน เป็นความรู้ในความจริง และมีความรู้ชนิดเดียวคือ ความรู้ชนิดที่ทำให้ผู้รู้รักความจริง เทิดทูนคุณธรรม สามารถคิดและทำได้อย่างถูกต้อง
โสคราตีสเชื่อว่า ผู้มีความรู้จะไม่เป็นคนเลวโดยเด็ดขาด ส่วนผู้ที่ยังทำผิด ก็เพราะเขาไม่มีความรู้ มีแต่เพียงความเห็น จึงอาจผิดพลาดได้เป็นธรรมดา ผู้มีความรู้ทุกคนสามารถเข้าถึงความจริงได้ตรงกัน เพราะความรู้หรือความจริงเป็นสิ่งที่มีอยู่ในตัวมนุษย์อยู่แล้ว เรียกว่าเป็นความรู้ก่อนประสบการณ์ (Apriori Knowledge) ดังนั้นสิ่งที่ถูกรู้คือ ตัวเรา มิใช่โลกภายนอก คนเราต้องศึกษาตนเอง (Know Thyself) ให้เข้าใจแล้วจะพบความจริง
๒.๓.๔ พลาโต กล่าวถึงความรู้ ๔ ระดับคือ
. การคาดคะเน หรือ การเดา (conjecture) จัดเป็นความรู้ที่มีความแน่นอนต่ำสุด เช่น ความรู้ที่ได้มาจากประสาทสัมผัส จินตนาการ ความฝัน ภาพสะท้อนและเงาของสิ่งต่าง ๆ (เรื่องนักโทษที่ถูกขังในถ้ำ) เป็นต้น
. ความเชื่อ (belief) และความรู้ที่ได้จากการรับรู้ (perception) ในวัตถุสิ่งนั้น ๆ (เปรียบเทียบได้กับการที่นักโทษได้รับการปล่อยพันธนาการ แล้วถูกบังคับให้ยืนขึ้นทันทีและหันไปจ้องมองแสงสว่างดูความจริงนอกถ้ำ)
ความรู้ระดับ ๑ และ ๒ เป็นความรู้ที่อาศัยประสาทสัมผัส ซึ่งพลาโตเห็นว่าเป็นเพียงความเห็น หรือทัศนะ ไม่ใช่ความรู้แท้
3. ความเข้าใจ หรือความคิดตามลำดับเหตุผล (discursive intellect) เป็นความรู้ที่แม้จะยังไม่ชัดเจน แจ่มแจ้ง แต่ก็เข้าใจแล้วว่าเป็นสิ่งที่เคยเห็นในลักษณะที่เป็นเงาหรือมายาภาพ ความรู้ระดับนี้ได้แก่ ความรู้ทุกอย่างทางคณิตศาสตร์ ตลอดจนสูตรหรือทฤษฎีบทที่ใช้ในวิชาเรขาคณิต และพีชคณิต
4. การรู้แจ้งด้วยเหตุผล (rational insight) เป็นความรู้ที่มีความแน่นอนสูงสุด ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับ แบบซึ่งถือเป็นความดีและความจริงที่มนุษย์ควรแสวงหา เป็นความรู้แจ้งด้วยเหตุผลซึ่งจะนำไปสู่เป้าหมายสุดท้าย คือ ความดี (เปรียบได้กับนักโทษที่เข้าใจแล้วว่า เงาไม่ใช่ของจริง พลาโตเห็นว่าคนที่มาถึงความรู้ขั้นนี้จะบรรลุถึงความดี และไม่อยากร่วมกิจกรรมที่คนทั่วไปเห็นว่าสำคัญ
ความรู้ระดับ 3 และ 4 นี้เป็นความรู้แท้ หรือเป็นศาสตร์ ที่ต้องอาศัยปัญญาในการเข้าถึง

๒.๔ พัฒนาการของวิธีการแสวงหาความรู้ของมนุษย์
เนื่องจากมนุษย์มีธรรมชาติของความอยากรู้อยากเห็น ความคิดริเริ่ม และมีความปรารถนาที่จะพัฒนาชีวิตและความเป็นอยู่ของตนให้ดียิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้มนุษย์จึงพยายามเสาะแสวงหาความรู้ความจริงต่าง ๆ อยู่เสมอ เมื่อพบเห็นสิ่งใดหรือเกิดความสงสัยขึ้นมาก็พยายามศึกษาหาความรู้ความจริงในสิ่งนั้น วิธีหาความรู้ความจริงมีอยู่หลายวิธีด้วยกัน อาจแบ่งตามยุคสมัยได้ดังนี้
ยุคโบราณ ในสมัยโบราณมนุษย์มักได้ความรู้ความจริงโดยวิธีต่าง ๆ เช่น
๑) โดยบังเอิญ (By chance) ความรู้ความจริงประเภทนี้ เป็นความรู้ความจริงที่เกิดขึ้นโดยมิได้คาดฝันหรือไม่เจตนาโดยตรง แต่บังเอิญเหตุการณ์หรือปรากฏการณ์บางอย่างทำให้มนุษย์ได้รับความรู้ เช่น การค้นพบยาเพนนิซิลินของอเล็กซานเดอร์ เฟลมมิง (Alexander Flemming) การค้นพบวัคซีนป้องกันอหิวาตกโรคของหลุยส์ ปาสเตอร์ (Louise Paster) การค้นพบรังสีเอกซ์ (X-ray) ของเริงท์แกน (Raentgen) การค้นพบว่ายางพาราดิบเมื่อถูกความร้อนจะช่วยให้ยางนั้นแข็งตัว และมีความทนทานเพิ่มขึ้นของชาร์ลส์ กูดเยียร์ (Charls Goodyear) ซึ่งนำไปสู่การประดิษฐ์ยางรถยนต์ที่แพร่ฟลายในปัจจุบันนี้ เป็นต้น การค้นพบดังกล่าวนี้เกิดขึ้นในขณะทำการศึกษาค้นคว้าในเรื่องนั้นและพบปรากฏการณ์โดยบังเอิญ ซึ่งเป็นความรู้ใหม่ที่ไม่ได้คาดหวังเอาไว้
๒) โดยขนบธรรมเนียมประเพณี (By custom and tradition) บางครั้งมนุษย์ได้รับความรู้โดยวิธีการทำตามปทัสถาน (Norm) ของสังคม เช่น การเคารพ การแต่งกาย การแต่งงาน มารยาท และพิธีทางสังคมต่าง ๆ เป็นต้น
๓) โดยผู้เชี่ยวชาญ (By expert) เป็นการหาความรู้จากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่อง เช่น ได้ความรู้มาจากนักกฎหมาย แพทย์ นักดนตรี เป็นต้น
๔) โดยผู้มีอำนาจหรือผู้มีชื่อเสียง (By authority) เป็นการหาความรู้ที่ได้จากผู้รอบรู้ที่มีชื่อเสียงหรือที่เรียกว่า นักปราชญ์ ซึ่งเป็นผู้มีอิทธิพลหรือมีอำนาจในสังคม ความรู้ที่ได้นี้อาจจะถูกหรือผิดก็ได้เช่น อริสโตเติล (Aristotle) ปราชญ์ในสมัยโบราณ กล่าวว่า ผู้หญิงมีฟันมากกว่าผู้ชายหรือ ที่ปโตเลมี (Ptolemy) เชื่อว่า โลกเป็นศูนย์กลางของระบบสุริยจักรวาลซึ่งก็มีการเชื่อถือกันมาโดยไม่มีใครกล้าตรวจนับ เปรียบเทียบหรือพิสูจน์
๕) โดยประสบการณ์ส่วนตัว (By personal experiences) ประสบการณ์ต่าง ๆ ของแต่ละคนช่วยให้บุคคลมีความรู้และมีวิธีการแก้ปัญหาต่าง ๆ โดยยึดประสบการณ์ที่เคยใช้ได้ผลมาแล้วเป็นแนวทาง เช่น การทำนาในเดือนที่เคยปลูกได้ผลมากที่สุด การสอนตามประสบการณ์ที่คิดว่าได้ผล เป็นต้น
๖) โดยวิธีลองผิดลองถูก (By trial and error) ความรู้ชนิดนี้มักได้มาจากการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า หรือปัญหาที่ไม่เคยทราบมาก่อน เมื่อแก้ปัญหานี้ถูกก็จดจำไว้ใช้ต่อไป ถ้าแก้ปัญหาผิดก็จำไว้เพื่อจะได้ไม่ใช้อีกต่อไป
ยุคอริสโตเติล (Aristotle) ผู้ได้รับยกย่องว่าเป็นบิดาของวิชาตรรกศาสตร์ เป็นผู้ค้นคิดวิธีการเสาะแสวงหาความรู้โดยอาศัยหลักของเหตุผล ซึ่งเรียกว่า Syllogistic Reasoning หรือวิธีอนุมาน (Deductive reasoning) ซึ่งเป็นการคิดหาเหตุผลโดยการนำเอาสิ่งที่เป็นจริงตามธรรมชาติมาอ้างองค์ประกอบหรือขั้นตอนของการหาความรู้โดยวิธีนี้มี 3 ประการคือ
1) เหตุใหญ่ (Major premise) เป็นข้อตกลงที่กำหนดขึ้น
2) เหตุย่อย (Minor premise) เป็นเหตุเฉพาะกรณีที่ต้องการทราบความจริง
3) ข้อสรุป (Conclusion) เป็นการลงสรุปจากการพิจารณาความสัมพันธ์ของข้อเท็จจริงใหญ่และข้อเท็จจริงย่อย แบบของการหาเหตุผล (Syllogism) ของอริสโตเติลมี 4 แบบดังนี้
- การหาเหตุผลเฉพาะกลุ่ม (Categoricle syllogism) เป็นวิธีการหาเหตุผลที่สามารถลงสรุปในตัวเองได้
ตัวอย่าง เหตุใหญ่ : ทุกคนเกิดมาแล้วต้องตาย
เห็นย่อย : นายอาคมเกิดมาเป็นคน
ข้อสรุป : นายอาคมจะต้องตาย
- การหาเหตุผลตามสมมติฐาน (Hypothetical syllogism) เป็นวิธีการหาเหตุผลที่กำหนดสถานการณ์ขึ้น มักจะมีคำว่า ถ้า...(อย่างนั้น อย่างนี้)...แล้วอะไรจะเกิดขึ้น...” (If…then…) การหาเหตุผลชนิดนี้ผลสรุปจะเป็นจริงหรือไม่แล้วแต่สภาพการณ์ เพียงแต่เป็นเหตุผลที่ถูกต้องตามหลักตรรกศาสตร์เท่านั้น
ตัวอย่าง เหตุใหญ่ : ถ้าโรงเรียนถูกไฟไหม้นักเรียนจะเป็นอันตราย
เห็นย่อย : โรงเรียนถูกไฟไหม้
ข้อสรุป : นักเรียนเป็นอันตราย
- การหาเหตุผลที่มีทางเลือกให้ (Alternative syllogism) เป็นวิธีการหาเหตุผลที่กำหนดสถานการณ์ที่เป็นทางเลือก ไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง (Either…or) หรืออยู่ในรูปที่เป็น อาจจะอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้
ตัวอย่าง เหตุใหญ่ : ฉันอาจจะได้นาฬิกาหรือปากกาเป็นรางวัล
เห็นย่อย : ฉันไม่ได้นาฬิกาเป็นรางวัล
ข้อสรุป : ฉันได้ปากกาเป็นรางวัล
- การหาเหตุผลที่ต่างออกไป (Disjunctive syllogism) เป็นวิธีการหาเหตุผลที่อาศัยการเชื่อมโยงกัน โดยที่เหตุย่อยเป็นตัวบอกกรณีบางส่วนในเหตุใหญ่
ตัวอย่าง เหตุใหญ่ : การที่ฝนไม่ตกและตก ไม่เป็นกรณีที่จะงดขบวนแห่นอกห้องเรียน
เห็นย่อย : วันนี้ฝนตก
ข้อสรุป : วันนี้ไม่เป็นการดีที่จะจัดให้มีขบวนแห่นอกห้องเรียน
การหาความรู้โดยวิธีของอริสโตเติล ได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์โดยฟรานซิส เบคอน (Francis Bacon) ว่ามีจุดอ่อนหรือข้อบกพร่องบางประการ เช่น
1. การหาความรู้โดยวิธีของอริสโตเติล ไม่ช่วยให้ค้นพบความรู้ใหม่ เพราะผลสรุปที่ได้นั้นจำกัดอยู่ในขอบเขตของเหตุใหญ่นั่นเอง
2. การหาเหตุผลโดยวิธีของอริสโตเติลนั้น ข้อสรุปจะมีความเที่ยงตรงเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับความเที่ยงตรงของข้อเท็จจริงใหญ่และข้อเท็จจริงย่อย ถ้าข้อเท็จจริงทั้งสองนี้ขาดความเที่ยงตรง ก็อาจทำให้ข้อสรุปขาดความเที่ยงตรงได้
ยุคฟรานซิส เบคอน จากการที่เบคอนได้วิพากษ์วิจารณ์วิธีการหาเหตุผลของอริสโตเติล ว่ามีข้อบกพร่องดังกล่าวแล้ว จึงเป็นเหตุให้เบคอนได้เสนอวิธีการหาความรู้ความจริงขึ้น ซึ่งเรียกว่า วิธีอุปมาน (Inductive reasoning) เป็นวิธีที่อาศัยการเก็บรวบรวมข้อมูลก่อนแล้วจึงทำการวิเคราะห์ข้อมูล (เหตุย่อย) เพื่อดูความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลเหล่านั้นในอันที่จะนำมาสรุปเป็นเหตุหรือผลหรือตั้งเป็นทฤษฎี (เหตุใหญ่) ดังนั้นองค์ประกอบหรือขั้นตอนในการอุปมานจึงอาจแบ่งได้เป็น 3 ขั้นคือ
1. เก็บรวบรวมข้อมูลหรือข้อเท็จจริงที่เป็นรายละเอียดย่อย ๆ ก่อน
2. วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อดูความสัมพันธ์ระหว่างข้อเท็จจริงย่อยเหล่านั้น
3. สรุปผล
การแสวงหาความรู้โดยวิธีอุปมานของฟรานซิส เบคอน มี 3 แบบ ขอแยกกล่าวดังนี้
1) การอุปมานอย่างสมบูรณ์ (Perfect induction) เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลทุก ๆ หน่วยในหมู่ประชากร เพื่อดูรายละเอียดของหน่วยย่อยทั้งหมดแล้วจึงวิเคราะห์ข้อมูล แปลผล และสรุป โดยวิธีการนี้จะทำให้ได้ความรู้ความจริงที่เชื่อถือได้อย่างสมบูรณ์ แต่ในทางปฏิบัติอาจทำไม่ได้เพราะเป็นการสิ้นเปลืองเวลา แรงงานและค่าใช้จ่ายสูง อีกทั้งประชากรบางอย่างเราไม่สามารถตรวจสอบให้ครบถ้วนทุกหน่วยได้ เช่น เชื้อโรค อากาศ น้ำ เป็นต้น
ตัวอย่าง ในการศึกษาความต้องการด้านการจัดกิจกรรมของนิสิตชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จำนวน 250 คน โดยใช้แบบสอบถาม ถามนิสิตชั้นปีที่ 1 ทุกคน แล้วรวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์และสรุปผลได้ว่า นิสิตชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มีความต้องการจัดกิจกรรมในด้านใดบ้าง
2) การอุปมานที่ไม่สมบูรณ์ (Imperfect induction) การอุปมานแบบนี้จะเลือกตรวจสอบวิเคราะห์ข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนของมวลประชากร แล้วจึงสรุป หรืออุปมานว่าประชากรทั้งหมดมีลักษณะเช่นไร วิธีการนี้ขึ้นอยู่กับการสุ่มกลุ่มตัวอย่างเป็นอย่างมาก แต่ก็สะดวกในการปฏิบัติเพราะประหยัดแรงงาน เวลา และค่าใช้จ่าย
ตัวอย่าง ในการศึกษาความต้องการด้านการจัดกิจกรรมของนิสิตชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จำนวน 250 คน โดยใช้แบบสอบถาม ขั้นแรกจะต้องสุ่มนิสิตชั้นปีที่ 1 มาเป็นกลุ่มตัวอย่างก่อน แล้วให้กลุ่มตัวอย่างนี้ตอบแบบสอบถาม รวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์ และสรุปผลได้ว่า นิสิตชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มีความต้องการจัดกิจกรรมในด้านใดบ้าง
3) แบบอุปมานแบบเบคอเนียน (Baconian induction) เป็นการอุปมานที่ไม่สมบุรณ์วิธีหนึ่ง ซึ่งเบคอนเสนอว่า ในการตรวจสอบข้อมูลนั้น ควรแจงนับหรือศึกษารายละเอียดของข้อมูลเป็น 3 กรณี คือ
- พิจารณาส่วนที่มีลักษณะเหมือนกัน (Positive instances)
- พิจารณาส่วนที่มีลักษณะแตกต่างกัน (Negative instances)
- พิจารณาส่วนที่มีความแปรเปลี่ยนไป (Alternative instances)
ผลจากการศึกษารายละเอียดของข้อมูลเป็น 3 กรณีดังกล่าวนี้ จะทำให้สรุปเป็นความรู้ใหม่ได้
วิธีการศึกษาหาความรู้ความจริงตามวิธีการของเบคอน ถึงแม้จะเป็นการช่วยให้ค้นพบความรู้ใหม่ แต่ก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า การค้นพบความรู้ใหม่ตามวิธีการของเบคอนนี้เป็นการค้นพบที่ปราศจากจุดมุ่งหมายที่แน่นอน และบางครั้งความรู้ความจริงที่ได้อาจไม่สอดคล้องกับความต้องการ หรือไม่อาจสรุปเป็นความรู้ความจริงได้ ถ้าหากรายละเอียดนั้นไม่แน่นอนหรือมีความแปรเปลี่ยนมาก
ยุคปัจจุบัน ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ชาร์ลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin) ได้เสนอวีการค้นหาความรู้ความจริง โดยเอาวิธีการของอริสโตเติลและฟรานซิล เบคอน มารวมกันเรียวิธีนี้ว่า วิธีการอนุมานและอุปมาน (Deductive - Inductive method) ซึ่งต่อมาได้มีผู้ดัดแปลงแก้ไขให้ชื่อใหม่ว่า Reflective Thinking เพราะกระบวนการคิดแบบนี้เป็นการคิดกลับไปกลับมาหรือคิดอย่างใคร่ครวญรอบคอบ ผู้ที่คิดวิธีการนี้คือ จอห์น ดุย (John Dewey) เขาได้เขียนไว้ในหนังสือ “How We Think” เมื่อปีค.ศ.1910 แบ่งขั้นการคิดไว้ 5 ขั้นคือ
1. ขั้นปรากฏความยุ่งยากเป็นปัญหาขึ้น (A felt difficulty) หรือขั้นปัญหานั่นเอง
2. ขั้นจำกัดขอบเขตและนิยามความยุ่งยาก (Location and definition of the difficulty) เป็นขั้นที่พยายามทำให้ปัญหากระจ่างขึ้น ซึ่งอาจได้จากการสังเกต การเก็บรวบรวมข้อเท็จจริง
3. ขั้นเสนอแนะการแก้ปัญหาหรือสมมติฐาน (Suggested solutions of the problem hypotheses) ขั้นนี้ได้จากการค้นคว้าข้อเท็จจริงแล้วใช้ปัญญาของตนเดาคำตอบของปัญหาที่เกิดขึ้น จึงเรียกกันว่า ขั้นตั้งสมมติฐาน
4. ขั้นอนุมานเหตุผลของสมมติฐานที่ตั้งขึ้น (Deductively reasoning out the consequences of the suggested solution) ขั้นนี้เป็นขั้นรวบรวมข้อมูลนั่นเอง
5. ขั้นทดสอบสมมติฐาน (Testing the hypotheses by action) ขั้นนี้เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อจะทดสอบดูว่า สมมติฐานที่ตั้งขึ้นมานั้นเชื่อถือได้หรือไม่
ขั้นตอนการคิดแบบนี้ต่อมาเรียกว่า วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific method) นั่นเอง กล่าวคือ เริ่มต้นด้วยปัญหาก่อน แล้วจึงใช้การอนุมานเพื่อจะเดาคำตอบของปัญหาหรือเป็นการตั้งสมมติฐานขึ้น ต่อมาก็มีการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อทดสอบสมมติฐาน และใช้หลักของการอุปมานสรุปผลออกมา วิธีการทางวิทยาศาสตร์จึงมีวิธีการคิดเป็น 5 ขั้นดังนี้
1. ขั้นปัญหา (Problem)
2. ขั้นตั้งสมมติฐาน (Hypotheses)
3. ขั้นเก็บรวบรวมข้อมูล (Gathering data)
4. ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis)

การใช้ปัญญาคิดหาเหตุผลเท่านั้น และมองว่า ความรู้ที่ได้จากประสบการณ์นั้นเป็นความรู้ที่ไม่แน่นอน อาจผิดพลาดได้ เ5) แต่เหตุผลนั้นจะเป็นตัวตัดสินให้เห็นความจริง เกิดความรู้ จากประสาทสัมผัสบอกเรา ว่า ทางรถไฟที่เราเห็นนี้มัน

ความรู้เกิดขึ้นจาก

ความรู้เกิดขึ้นจากหตุผลนิยมถือว่า ประสบการณ์เป็นตัวให้ข้อมูล (ทางประสาทสัมผัสทั้ง