จำนวนผู้เข้าชม

วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การส่งข้อมูลสองทิศทางสลับกัน

แบบทดสอบหลังเรียน ดูผลสอบ หน่วยที่ 1 ระบบสื่อสารข้อมูล กิจกรรมประจำหน่วย การสื่อสารข้อมูล ความหมายและองค์ประกอบ รูปแบบทิศทางของการสื่อสารข้อมูล บทบาทของการสื่อสารข้อมูล ประโยชน์ของการสื่อสารข้อมูล เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ความหมายและองค์ประกอบ รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่าย ชนิดของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ประโยชน์เครือข่ายคอมพิวเตอร์ การค้นหาข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต สิ่งจำเป็นในการสืบค้นหาข้อมูล โปรแกรมสืบค้นหาข้อมูล ประเภทการสืบค้นข้อมูล วิธีสืบค้นข้อมูล การสืบค้นข้อมูลใน google การสืบค้นข้อมูลในเว็บไซต์ yahoo การใช้บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ลักษณะเด่นของอีเมล ระบบการทำงานของอีเมล์ วิธีการสมัครจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ วิธีการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ วิธีการเปิดอ่านจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ วิธีการตอบกลับจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ แบบฝึกหัด รูปแบบทิศทางของการสื่อสารข้อมูล 1. การส่งข้อมูลแบบทิศทางเดียว (Simplex Transmission) เป็นการสื่อสารข้อมูลที่มีผู้ส่งข้อมูลทำหน้าที่ส่งข้อมูลแต่เพียงอย่างเดียว และผู้รับข้อมูล ก็ทำหน้าที่รับข้อมูลแต่เพียงอย่างเดียวด้วยเช่นกัน การส่งข้อมูลในลักษณะนี้ เช่น การส่งสัญญาณของสถานีโทรทัศน์ไปยังเครื่องรับโทรทัศน์ โดยที่สถานีส่งสัญญาณโทรทัศน์จะทำหน้าที่ส่งสัญญาณเท่านั้น และเครื่องรับโทรทัศน์ก็จะทำหน้าที่รับสัญญาณเท่านั้นเช่นกัน 2. การส่งข้อมูลแบบสองทิศทางสลับกัน (Half-Duplex-Transmission) เป็นการสื่อสารข้อมูลที่มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลของผู้รับและผู้ส่ง โดยแต่ละฝ่ายสามารถเป็นทั้งผู้ส่งและผู้รับข้อมูล แต่จะต้องสลับกันทำหน้าที่เป็นผู้ส่งข้อมูล จะเป็นผู้ส่ง พร้อมกันทั้งสองฝ่ายไม่ได้ ลักษณะการส่งข้อมูลประเภทนี้ เช่น การสื่อสารโดยใช้วิทยุสื่อสาร ซึ่งผู้ที่จะส่งข้อมูลต้องกดปุ่มเพื่อส่งข้อมูล ในขณะนั้นผู้อื่นจะเป็นผู้รับข้อมูล 3. การส่งข้อมูลแบบสองทิศทางพร้อมกัน (Full Duplex Transmission) เป็นการสื่อสารข้อมูลที่มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลของทั้งผู้ส่งและผู้รับข้อมูล โดยทั้งสองฝ่ายสามารถเป็นผู้ส่งและ ผู้รับข้อมูลได้ในเวลาเดียวกัน และสามารถส่งข้อมูลได้พร้อมกันลักษณะการส่งข้อมูลแบบสองทิศทางพร้อมกัน เช่น การสื่อสารโทรศัพท์ซึ่งทั้งสองฝ่ายสามารถ พูดพร้อมกันได้ในเวลาเดียวกัน โดยปกติการสื่อสารข้อมูลส่วนใหญ่จะไม่ใช่่การส่งข้อมูล แบบสองทิศทางพร้อมกัน ตัวอย่างเช่น การใช้โทรศัพท์ ถึงแม้ว่าจะสามารถส่งข้อมูลได้ สองทิศทางพร้อมกัน แต่เวลาพูดยังต้องสลับกันพูด อีกตัวอย่างหนึ่งคือ การสื่อสารระหว่าง เครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งบางครั้งดูเหมือนว่าเป็นแบบสองทิศทางพร้อมกัน แต่ในความเป็นจริงแล้วเป็นการส่งข้อมูลแบบสองทิศทางสลับกัน ซึ่งช่วงเวลาที่สลับกันนี้อาจเป็นช่วงเวลาที่เร็วมาก จึงดูเหมือนว่าเป็นการส่งข้อมูลสองทิศทางพร้อมกัน เว็บไซต์นี้แสดงผลได้ดี บนความละเอียด 800x600 Text Size Medium เว็บไซต์นี้จัดทำเพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โรงเรียนเชียงคำวิทยาคม อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเย

โปรเกรมmicrosoft word 2002

การแนะน า Microsoft Word และ การเริ่มต้นการใช้งานโปรแกรม Microsoft Word เนื้อหาเกี่ยวกับการแนะน าประวัติความเป็นมาของ Microsoft Word และ การ เริ่มต้นเข้าไปใช้งานโปรแกรม Microsoft Word การใช้มุมมองต่างๆในการพิมพ์ เอกสาร ศูนย์เทคโนโลยีและสารสนเทศประจ าศาลฎีกา [Version 1.1]ศูนย์เทคโนโลยีและสารสนเทศประจ าศาลฎีกา นิโรบล นุชอุดม 2 สารบัญ 1.แนะน าMicrosoft word..........................................................................................................3 2.เริ่มต้นใช้งาน Microsoft Word...............................................................................................4 2.1 การสร้างเอกสารใหม่ ....................................................................................................5 2.2 การบันทึกเอกสารที่สร้าง...............................................................................................6 2.3 การบันทึกเอกสารเป็นชื่อใหม่ .........................................................................................6 2.4 การเปิดเอกสารที่บันทึกไว้กลับมาใช้งาน............................................................................7 2.5 การปิดเอกสาร............................................................................................................7 2.6 การออกจากโปรแกรม...................................................................................................8 2.7 การใช้มุมมองต่างๆใน Microsoft word.................................................................................8 2.8 การเรียกดูเอกสารในหน้าอื่นๆ ......................................................................................14ศูนย์เทคโนโลยีและสารสนเทศประจ าศาลฎีกา นิโรบล นุชอุดม 3 1.แนะน าMicrosoft word โปรแกรม Microsoft Word เริ่มน าเข้ามาใช้ในเมืองไทยครั้งแรกจะเป็นเวอร์ชั่น 2.0 โดย ท างานบน Windows 3.0 ขึ้นไป ซึ่งได้รับการตอบรับจากผู้ใช้งานพอสมควร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ใช้งานที่มีอุปกรณ์ต่อพ่วงเพิ่มเติม คือ เมาส์ ( Mouse ) และมีแถบเครื่องมือท าให้ผู้ใช้แทบจะ ไม่ต้องจดจ าค าสั่ง เพียงแต่จ ารูปแถบเครื่องมือให้ได้ แต่เนื่องจากในช่องแรกๆ ที่เข้ามาใน ประเทศไทย ระบบการจัดการภาษาไทยยังไม่ดีพอ จึงท าให้โปรแกรม Microsoft Word เวอร์ชั่น 2.0 ยังไม่เป็นที่นิยมเท่าที่ควร จนกระทั้งบริษัทไมโครซอฟท์ คอร์ปอเรชั่น จ ากัด ได้พัฒนา โปรแกรมMicrosoft Word เวอร์ชั่น 2.0 เป็น เวอร์ชั่น 6.0 ท าให้เป็นที่นิยมอีกครั้ง และผู้ใช้ จ านวนมากลืมโปรแกรม Word Processing ตัวอื่นๆ โดยสิ้นเชิงเพราะถูกใจประสิทธิภาพของ โปรแกรม และยิ่งไปกว่านั้น บริษัท ไมโครซอฟท์คอร์ปอเรชั่น จ ากัด ยังไม่ได้รวมชุด Microsoft Office ซึ่งประกอบ ด้วยโปรแกรม Microsoft Word , Microsoft Excel , Microsoft PowerPoint และ Microsoft Access เข้าด้วยกัน ท าให้โปรแกรม Microsoft Word ยิ่งได้รับความนิยมมากขึ้น ต่อมาบริษัท ไมโครซอฟท์ คอร์ปอเรชั่น จ ากัด ได้พัฒนาโปรแกรมชุด Microsoft Office เป็นMicrosoft Office 97 ซึ่งเป็นโปรแกรมที่มีประสิทธิภาพอย่างมาก และเป็นที่นิยมใช้ โดยทั่วไปจนถึงทุกวันนี้เพราะนอกจากเพิ่มลูกเล่นมากมายแล้ว ยังเพิ่มโปรแกรมให้ด้วย เช่น Microsoft Outlookโปรแกรมชุด Microsoft Office 97 สามารถติดตั้งได้ทั้งบน Windows 95 และ Windows 98 ในปัจจุบันโปรแกรมชุด Microsoft Office 97 ได้รับการพัฒนาเป็น Microsoft 2000 ซึ่งเป็นที่นิยมต่อมาเรื่อยๆ บริษัทไมโครซอฟท์ คอร์ปอเรชั่น ได้มีการพัฒนาโปรแกรม Microsoft Office XP,Microsoft Office 2002 , Microsoft Office 2003 และในรุ่นปัจจุบันที่ บริษัท ไมโครซอฟท์ คอร์ปอเรชั่น จ ากัด ได้พัฒนาคือ Microsoft Office 2007 กลับหน้าหลักศูนย์เทคโนโลยีและสารสนเทศประจ าศาลฎีกา นิโรบล นุชอุดม 4 ชื่อเอกสารที่เปิดใช้งาน แถบเมนู แถบเครื่องมือ ง ขอความช่วยเหลือ ง ขอความช่วยเหลือ ง ขอความช่วยเหลือ ง 2.เริ่มต้นใช้งาน Microsoft Word เมื่อท าการติดตั้งโปรแกรม Microsoft Office สามารถเข้าสู่โปรแกรม และเริ่มต้นใช้งาน Microsoft Word ซึ่งการเข้าไปใช้งานของ Microsoft word สามารถเข้าไปใช้งานได้หลายวิธีดังนี้ วิธีที่ 1 1. โดยคลิกเมาส์ที่ปุ่ม 2. เลือก [ All Program > Microsoft Office > Microsoft Office Word ] วิธีที่ 2 กรณีที่หน้าต่างของ Windows (Desktop) มีไอคอน สามารถเข้าโปรแกรมผ่าน ทางไอคอนได้เลย เมื่อสามารถเข้าไปในโปรแกรม Microsoft word ได้แล้วจะปรากฏหน้าตาของ Microsoft word ดังนี้ กลับหน้าหลัก แถบเครื่องมือ ง วัดระยะแนวนอน ง วัดระยะแนวตั้ง พื้นที่การพิมพ์ แถบเลื่อนแนวตั้ง แถบเลื่อนแนวนอน มุมมอง แถบสถานะศูนย์เทคโนโลยีและสารสนเทศประจ าศาลฎีกา นิโรบล นุชอุดม 5 2.1 การสร้างเอกสารใหม่ การเริ่มต้นการท างานของเอกสาร ให้สร้างเอกสารใหม่ขึ้นมาก่อน โดยอาจเลือกสร้าง เอกสารเปล่าขึ้นมาและการสร้างเอกสารใหม่นั้นมีวิธีการต่างๆดังนี้ วิธีที่ 1 การสร้างเอกสารใหม่วิธีการที่ง่ายที่สุดคือ การเข้าผ่านทางไอคอนที่แถบเครื่องมือคือ และเอกสารใหม่ก็จะเกิดขึ้น วิธีที่ 2 การสร้างเอกสารใหม่อีกวิธีการหนึ่งได้โดยเข้าเมนูแฟ้มก็ได้โดยมีวิธีการดังนี้ 1. เลือกเมนู [ แฟ้ม --> สร้าง ] 2. หน้าต่างงาน เอกสารใหม่ ส าหรับเลือกสร้างเอกสารใหม่ กลับหน้าหลักศูนย์เทคโนโลยีและสารสนเทศประจ าศาลฎีกา นิโรบล นุชอุดม 6 2.2 การบันทึกเอกสารที่สร้าง เมื่อท าการพิมพ์ข้อมูลต่างๆ ลงบนเอกสารที่สร้างขึ้นเรียบร้อยแล้ว ก่อนออกจาก โปรแกรม Microsoft word ต้องท าการบันทึก หรือ save เอกสารที่พิมพ์ไว้ก่อน เพื่อจะได้น า เอกสารนั้นมาใช้ในครั้งต่อไปได้อีก โดยตั้งชื่อแฟ้มข้อมูลได้ยาวถึง 256 ตัวอักษรหรือโดยการ เลือกไอคอนบนแถบเครื่องมือ 2.3 การบันทึกเอกสารเป็นชื่อใหม่ เมื่อต้องการท าส าเนา หรือส ารองแฟ้มข้อมูลเอกสารที่สร้างขึ้น โดยบันทึกเป็นชื่อหนึ่ง ไว้แล้ว ดังนั้นผู้ใช้งานสามารถบันทึกเอกสารให้เป็นแฟ้มข้อมูลใหม่ได้ โดยที่เอกสารเดิม ผู้ใช้งานจะยังคงอยู่ด้วย โดยใช้ค าสั่ง [แฟ้ม> บันทึกเป็น] กลับหน้าหลัก 4.คลิกเมาส์ บันทึก 3.ตั้งชื่อให้กับแฟ้มข้อมูลที่บันทึก 3. ตั้งชื่อแฟ้มข้อมูลใหม่ 1. เลือกค าสั่ง [แฟ้ม> บันทึกเป็น] 2. เลือกต าแหน่งที่ต้องการบันทึก 1.เลือกค าสั่ง [แฟ้ม -->บันทึก] หรือ 2.ระบุต าแหน่งเก็บ ข้อมูลศูนย์เทคโนโลยีและสารสนเทศประจ าศาลฎีกา นิโรบล นุชอุดม 7 2.4 การเปิดเอกสารที่บันทึกไว้กลับมาใช้งาน ข้อดีของการบันทึกแฟ้มข้อมูลเอกสารไว้คือ ผู้ใช้งานสามารถเปิดเอกสารเหล่านั้น ขึ้นมาอ่านหรือแก้ไขเพิ่มเติมในครั้งต่อไปได้ตามต้องการ มีขั้นตอนต่อไปนี้ 2 2.5 การปิดเอกสาร เมื่อท าการบันทึกเรียบร้อยแล้ว และไม่ต้องท างานกับเอกสารเดิมอีกในขณะนั้น ก็ควร ปิดเอกสารเสีย โดยเลือกค าสั่ง[แฟ้ม> ปิด] หรือคลิกเมาส์ที่ปุ่ม บนหน้าต่างเอกสาร 4.คลิกเมาส์ 2. เลือกค ำสั่งส ำหรับจัดกำรกับแฟ้มข้อมูลเอกสำรก่อน 1.เลือกค าสั่ง [แฟ้ม > เปิด] หรือหรือ 2. ระบุต าแหน่งที่เก็บแฟ้มข้อมูล 3.คลิกเมาส์เลือกแฟ้มข้อมูล 1. เลือกค าสั่ง[ แฟ้ม > ปิด ] หรือคลิกเมาส์ซ้ายที่ปุ่ม บนหน้าต่าง เอกสาร ศูนย์เทคโนโลยีและสารสนเทศประจ าศาลฎีกา นิโรบล นุชอุดม 8 2.6 การออกจากโปรแกรม หลังจากที่ได้เสร็จสิ้นการใช้โปรแกรม Word และบันทึกเอกสารแล้ว ก่อนปิดเครื่องหรือ เรียกใช้โปรแกรมอื่น ควรออกจากโปรแกรม Word เสียก่อน โดยมีขั้นตอนคือ [แฟ้ม> จบการ- ท างาน] หรือคลิกเมาส์ที่ปุ่ม ที่อยู่ด้านบนขวา 1. เลือก [ แฟ้ม > จบการท างาน ] หรือคลิกเมาส์เพื่อปิดโปรแกรม 2.7 การใช้มุมมองต่างๆใน Microsoft word เพื่อความสะดวกในการสร้างและท างานกับเอกสาร Microsoft word สามารถแสดง เอกสารได้หลายมุมมอง (View) โดยแต่ละมุมมองจะมีรูปแบบและการใช้งานที่แตกต่างกัน ซึ่ง ผู้ใช้งานสามารถสลับระหว่างแต่ละมุมมองได้โดยมี 2 วิธีการดังนี้ วิธีที่ 1 1. เลือกค าสั่ง มุมมอง 2. เลือกมุมมองที่ต้องการโดยจะมีให้เลือกดั้งนี้ 2.1 ปกติ 2.2 เค้าโครงเว็บ 2.3 เค้าโครงเหมือนพิมพ์ กลับหน้าหลักศูนย์เทคโนโลยีและสารสนเทศประจ าศาลฎีกา นิโรบล นุชอุดม 9 2.4 เค้าโครงการอ่าน 2.5 เค้าร่าง วิธีที่ 2 คลิกเมาส์ที่ปุ่ม ที่มุมซ้ายล่างของจอภาพ กลับหน้าหลัก คลิกเมาส์เพื่อเลือกมุมมองศูนย์เทคโนโลยีและสารสนเทศประจ าศาลฎีกา นิโรบล นุชอุดม 10 รูปแบบของมุมมองต่างๆ มุมมองปกติ (Normal View) เป็นมุมมองปกติที่ใช้งานอยู่เป็นประจ า ซึ่งสามารถกรอกข้อความ เปลี่ยนรูปแบบ ตัวอักษร จัดหน้า ใส่ตัวเลขลงในข้อความได้แต่ในมุมมองนี้จะไม่แสดงบางอย่างที่ไม่จ าเป็นต่อ การกรอกข้อความ เช่น เลขหน้า ตัวเลขแสดงจ านวนบรรทัด หัวกระดาษหรือท้ายกระดาษ ดังนั้น จึงสามารถแสดงข้อมูลบนหน้าจอได้เร็วขึ้น ซึ่งเหมาะกับการท างานทั่วๆ ไป กลับหน้าหลัก มุมมองปกติ ศูนย์เทคโนโลยีและสารสนเทศประจ าศาลฎีกา นิโรบล นุชอุดม 11 มุมมองเค้าโครงเว็บ (Web Layout View) ในมุมมองนี้ผู้ใช้งานสามารถอ่านและค้นหาหัวข้อในเอกสารได้ง่าย ซึ่งจะคล้ายกับ มุมมองเค้าโครงเหมือนพิมพ์แต่มีขนาดฟอนต์ ความยาวหน้ากระดาษที่ใช้แสดงข้อความจะ ต่างกันเพื่อให้อ่านง่ายสบายตาขึ้น เหมาะส าหรับการอ่านเอกสารในเว็บ กลับหน้าหลัก มุมมองปกติ ศูนย์เทคโนโลยีและสารสนเทศประจ าศาลฎีกา นิโรบล นุชอุดม 12 มุมมองเค้าโครงเหมือนพิมพ์ ปกติ มุมมองเค้าโครงเหมือนพิมพ์(Print Layout View) เป็นมุมมองที่แสดงผลลัพธ์เหมือนกับเอกสารที่พิมพ์ออกจากเครื่องพิมพ์จริงๆโดยจะ แสดงรูปภาพ เลขที่หน้า หรือหัวกระดาษ ระยะเว้นระหว่างข้อความกับขอบกระดาษที่ผู้ใช้ ก าหนดให้เห็น กลับหน้าหลักศูนย์เทคโนโลยีและสารสนเทศประจ าศาลฎีกา นิโรบล นุชอุดม 13 มุมมองเค้าร่าง มุมมองเค้าร่าง(Outline View) เป็นมุมมองที่แสดงเฉพาะข้อความในเอกสารเท่านั้น โดยแสดงเป็นโครงสร้างของ เอกสารว่าประกอบด้วยหัวข้ออะไรบ้าง และแต่ละหัวข้อมีหัวข้อย่อยลงไปอีกกี่ระดับ มุมมองนี้ เหมาะส าหรับใช้จัดล าดับการน าเสนอเนื้อหา ซึ่งมุมมองนี้จะไม่แสดงรูปภาพและตารางเลย นอกจากข้อความเท่านั้น กลับหน้าหลักศูนย์เทคโนโลยีและสารสนเทศประจ าศาลฎีกา นิโรบล นุชอุดม 14 มุมมองการอ่าน(Reading View) เป็นมุมมอง Microsoft Word ที่ให้ผู้ที่ใช้งานสามารถอ่านข้อมูลภายในเอกสารคล้ายกับ หน้าหนังสือโดยมีการแบ่งออกเป็น 2 หน้า และจัดเอกสารอัตโนมัติและจะท าให้ฟอนต์มีขนาด ใหญ่แต่เมื่อปิดมุมมองนี้ก็จะกลับมาหน้าปกติที่เคยจัดเอาไว้ 2.8 การเรียกดูเอกสารในหน้าอื่นๆ เมื่อเอกสาร มีความยาวจนจอภาพไม่สามารถแสดงข้อความให้เห็นได้ทั้งหมด ให้ใช้ Scroll bar เลื่อนเอกสารที่แสดงขึ้น/ลงเพื่อดูข้อความส่วนอื่นได้โดยมีวิธีการต่างๆดังนี้ วิธีที่ 1 โดยคลิกเมาส์ที่ปุ่ม และ เพื่อเลื่อนหน้าเอกสารขึ้นหรือลง วิธีที่2 กด Page Up และPage down เพื่อเลื่อนเอกสารทีละหน้า วิธีที่3 โดยคลิกเมาส์ที่ปุ่ม หรือ

ผังงาน

การเขียนผังงาน เนื้อหา • การเขียนผังงาน ( Flowchart ) • ผังงานกับชีวิตประจำวัน • โครงสร้างการทำงานแบบมีการเลือก ( Selection ) • โครงสร้างการทำงานแบบมีการทำงานซ้ำ การเขียนผังงาน ( Flowchart ) ผังงาน คือ แผนภาพที่มีการใช้สัญลักษณ์รูปภาพและลูกศรที่แสดงถึงขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมหรือระบบทีละขั้นตอน รวมไปถึงทิศทางการไหลของข้อมูลตั้งแต่แรกจนได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ ประโยชน์ของผังงาน • ช่วยลำดับขั้นตอนการทำงานของโปรแกรม และสามารถนำไปเขียนโปรแกรมได้โดยไม่สับสน • ช่วยในการตรวจสอบ และแก้ไขโปรแกรมได้ง่าย เมื่อเกิดข้อผิดพลาด • ช่วยให้การดัดแปลง แก้ไข ทำได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว • ช่วยให้ผู้อื่นสามารถศึกษาการทำงานของโปรแกรมได้อย่างง่าย และรวดเร็วมากขึ้น วิธีการเขียนผังงานที่ดี • ใช้สัญลักษณ์ตามที่กำหนดไว้ • ใช้ลูกศรแสดงทิศทางการไหลของข้อมูลจากบนลงล่าง หรือจากซ้ายไปขวา • คำอธิบายในภาพควรสั้นกระทัดรัด และเข้าใจง่าย • ทุกแผนภาพต้องมีลูกศรแสดงทิศทางเข้า - ออก • ไม่ควรโยงเส้นเชื่อมผังงานที่อยู่ไกลมาก ๆ ควรใช้สัญลักษณ์จุดเชื่อมต่อแทน • ผังงานควรมีการทดสอบความถูกต้องของการทำงานก่อนนำไปเขียนโปรแกรม ผังงานโปรแกรม ( Program Flowchart ) การเขียนผังโปรแกรมจะประกอบไปด้วยการใช้สัญลักษณ์มาตรฐานต่าง ๆ ที่เรียกว่า สัญลักษณ์ ANSI ( American National Standards Institute ) ในการสร้างผังงาน ดังตัวอย่างที่แสดงในรูปต่อไปนี้ จุดเริ่มต้น / สิ้นสุดของโปรแกรม ลูกศรแสดงทิศทางการทำงานของโปรแกรมและการไหลของข้อมูล ใช้แสดงคำสั่งในการประมวลผล หรือการกำหนดค่าข้อมูลให้กับตัวแปร แสดงการอ่านข้อมูลจากหน่วยเก็บข้อมูลสำรองเข้าสู่หน่วยความจำหลักภายใน เครื่องหรือการแสดงผลลัพธ์จากการประมวลผลออกมา การตรวจสอบเงื่อนไขเพื่อตัดสินใจ โดยจะมีเส้นออกจารรูปเพื่อแสดงทิศทางการทำงานต่อไป เงื่อนไขเป็นจริงหรือเป็นเท็จ แสดงผลหรือรายงานที่ถูกสร้างออกมา แสดงจุดเชื่อมต่อของผังงานภายใน หรือเป็นที่บรรจบของเส้นหลายเส้นที่มาจากหลายทิศทางเพื่อจะไปสู่ การทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งที่เหมือนกัน การขึ้นหน้าใหม่ ในกรณีที่ผังงานมีความยาวเกินกว่าที่จะแสดงพอในหนึ่งหน้า รูปที่1 แสดง สัญลักษณ์ในการเขียนผังงานโปรแกรม ผังงานกับชีวิตประจำวัน การทำงานหลายอย่างในชีวิตประจำวัน จะมีลักษณะที่เป็นลำดับขั้นตอน ซึ่งก่อนที่ท่านจะได้ศึกษาวิธีการเขียนผังงานโปรแกรม จะแนะนำให้ท่านลองฝึกเขียนผังงานที่แสดงการทำงานในชีวิตประจำวันวันก่อนเพื่อเป็น การสร้างความคุ้นเคยกับสัญลักษณ์รูปภาพต่าง ๆ ที่จะมีใช้ในผังงานโปรแกรมต่อไป ดัง ตัวอย่าง 1 เขียนผังงานที่แสดงขั้นตอนการส่งจดหมาย รูปที่ 2 แสดงการเขียนผังงานที่แสดงขั้นตอนการส่งจดหมาย ตัวอย่างที่ 2 เขียนผังงานแสดงวิธีการรับประทานยา ที่แบ่งขนาดรับประทานตามอายุของผู้ทานดังนี้ • อายุมากกว่า 10 ปี รับประทานครั้งละ 2 ช้อนชา • อายุมากกว่า 3 ปี ถึง 10 ปี รับประทานครั้งละ 1 ช้อนชา • อายุมากกว่า 1 ปี ถึง 3 ปี รับประทานครั้งละ 1/2 ช้อนชา • แรกเกิดถึง 1 ปี ห้ามรับประทาน รูปที่ 3 แสดงการเขียนผังงานแสดงวิธีการรับประทานยา โครงสร้างการทำงานแบบมีการเลือก ( Selection ) เป็นโครงสร้างที่ใช้การตรวจสอบเงื่อนไขเพื่อการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยโครงสร้างแบบนี้จะมีอยู่ด้วยกัน 2 รูปแบบ คือ IF - THEN - ELSE และ IF - THEN รูปที่4 แสดงโครงสร้างผังงานแบบมีการเลือก โครงสร้างแบบ IF - THEN - ELSE เป็นโครงสร้างที่จะทำการเปรียบเทียบเงื่อนไขที่ใส่ไว้ในส่วนหลังคำว่า IF และเมื่อได้ผลลัพธ์จากการเปรียบเทียบก็จะเลือกว่าจะทำงานต่อในส่วนใด กล่าวคือถ้าเงื่อนไขเป็นจริง ( TRUE ) ก็จะเลือกไปทำงานต่อที่ส่วนที่อยู่หลัง THEN แต่ถ้าเงื่อนไขเป็นเท็จ ( FALSE ) ก็จะไปทำงานต่อในส่วนที่อยู่หลังคำว่า ELSE แต่ถ้าสำหรับโครงสร้างแบบ IF - THEN เป็นโครงสร้างที่ไม่มีการใช้ ELSE ดังนั้น ถ้ามีการเปรียบเทียบเงื่อนไขที่อยู่หลัง IF มีค่าเป็นจริง ก็จะไปทำส่วนที่อยู่หลัง Then แต่ถ้าเงื่อนไขเป็นเท็จ ก็จะไปทำคำสั่งที่อยู่ถัดจาก IF - THEN แทน ตัวอย่าง 3 การเขียนผังงานอ่านค่าข้อมูลเข้ามาเก็บไว้ในตัวแปร A และ B แล้วทำการเปรียบเทียบในตัวแปรทั้งสอง โดยมีเงื่อนไขดังนี้ • ถ้า A มากกว่า B ให้คำนวณหาค่า A - B และเก็บผลลัพธ์ไว้ในตัวแปรชื่อ RESULT • ถ้า A น้อยกว่าหรือเท่ากับ B ให้คำนวณหาค่า A + B และเก็บผลลัพธ์ไว้ในตัวแปรชื่อ RESULT รูปที่ 3 แสดงการเขียนผังงานอ่านค่าข้อมูล ตัวอย่าง 4 การเขียนผังงานเปรียบเทียบค่าข้อมูลที่เก็บอยู่ในตัวแปร X โดยมีเงื่อนไขดังนี้ • ถ้า X > 0 ให้พิมพ์คำว่า " POSITIVE NUMBER " • ถ้า X < 0 ให้พิมพ์คำว่า " NEGATIVE NUMBER " • ถ้า X = 0 ให้พิมพ์คำว่า " ZERO NUMBER " รูปที่ 4 แสดงการเขียนผังงานเปรียบเทียบค่าข้อมูล โครงสร้างการทำงานแบบมีการทำงานซ้ำ เป็นโครงสร้างที่มีการประมวลผลกลุ่มคำสั่งซ้ำหลายครั้ง ตามลักษณะเงื่อนไขที่กำหนด อาจเรียก การทำงานซ้ำแบบนี้ได้อีกแบบว่า การวนลูป ( Looping ) โครงสร้างแบบการทำงานซ้ำนี้จะมีอยู่ 2 ประเภท คือ • DO WHILE • DO UNTIL DO WHILE เป็นโครงสร้างที่มีการทดสอบเงื่อนไขก่อน ถ้าเงื่อนไขเป็นจริงก็จะเข้ามาทำงานในกลุ่มคำสั่งที่ต้องทำซ้ำ ซึ่งเรียกว่าการเข้าลูป หลังจากนั้นก็จะย้อนกลับไปตรวจสอบเงื่อนไขใหม่อีก ถ้าเงื่อนไขยังคงเป็นจริงอยู่ ก็ยังคงต้องทำกลุ่มคำสั่งซ้ำหรือเข้าลูปต่อไปอีก จนกระทั่งเงื่อนไขเป็นเท็จ ก็จะออกจากลูปไปทำคำสั่งถัดไปที่อยู่ถัดจาก DO WHILE หรืออาจเป็นการจบการทำงาน แสดงโครงสร้างการทำงานซ้ำแบบ DO WHILE DO UNTIL เป็นโครงสร้างการทำงานแบบทำงานซ้ำเช่นกัน แต่มีการทำงานที่แตกต่างจาก DO WHILE คือจะมีการเข้าทำงานกลุ่มคำสั่งที่อยู่ภายในลูปก่อนอย่างน้อย 1 ครั้ง แล้วจึงจะไปทดสอบเงื่อนไข ถ้าเงื่อนไขเป็นเท็จก็จะมีการเข้าทำกลุ่มคำสั่งที่ต้องทำซ้ำอีก หลังจากนั้นก็จะย้อนกลับไปตรวจสอบเงื่อนไขใหม่อีก ถ้าเงื่อนไขยังคงเป็นเท็จอยู่ ก็ยังต้องทำกลุ่มคำสั่งซ้ำหรือเข้าลูปต่อไปอีก จนกระทั่งเงื่อนไขเป็นจริง จึงจะออกจากลูปไปทำคำสั่งถัดจาก UNTIL หรืออาจเป็นการจบการทำงาน แสดงโครงสร้างการทำงานซ้ำแบบ DO UNTIL สรุปข้อแตกต่างระหว่าง DO WHILE และ DO UNTIL มีดังนี้ 1. DO WHILE ในการทำงานครั้งแรกจะต้องมีการตรวจสอบเงื่อนไขก่อนทุกครั้ง ก่อนที่จะมีการเข้ลูปการทำงาน 2. DO UNTIL การทำงานครั้งแรกจะยังไม่มีการตรวจสอบเงื่อนไข แต่จะเข้าไปทำงานในลูปก่อนอย่างน้อย 1 ครั้งแล้วจึงจะไปตรวจสอบเงื่อนไข 3. DO WHILE จะมีการเข้าไปทำงานในลูปก็ต่อเมื่อตรวจสอบเงื่อนไขแล้วพบว่า เงื่อนไขเป็นจริง แต่เมื่อพบว่าเงื่อนไขเป็นเท็จ ก็จะออกจากลูปทันที 4. DO UNTIL จะมีการเข้าไปทำงานในลูปก็ต่อเมื่อตรวจสอบเงื่อนไขแล้วพบว่า เงื่อนไขเป็นเท็จ แต่เมื่อพบว่าเงื่อนไขเป็นจริง ก็จะออกจากลูปทันที ตัวอย่าง 5 จงเขียนผังงานแสดงการเพิ่มของข้อมูลตัวเลขที่เก็บอย่ในหน่วยความจำที่แอดเดรส 1 โดยที่ค่าเริ่มต้นจาก 0 ให้ทำการเพิ่มค่าทีละ 1 เรื่อยไปจนกระทั่ง J มีค่าข้อมูลมากกว่า 100 จึงหยุดการทำงาน ตัวอย่างนี้ เป็นตัวอย่างการทำงานแบบทำซ้ำ ซึ่งจะสามารถแสดงการเขียนได้ทั้งแบบ DO WHILE และ DO UNTIL ดังนี้ แสดงตัวอย่างการใช้ DO WHILE และ DO UNTIL

เครือข่ายคอมพิวเตอร์

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ การที่ระบบเครือข่ายมีบทบาทและความสำคัญเพิ่มขึ้น เพราะไมโครคอมพิวเตอร์ได้รับการใช้งานอย่างแพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้นถึงกับเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของระบบให้สูงขึ้น เพิ่มการใช้งานด้านต่าง ๆ และลดต้นทุนระบบโดยรวมลง มีการแบ่งใช้งานอุปกรณ์และข้อมูลต่าง ๆ ตลอดจนสามารถทำงานร่วมกันได้ สิ่งสำคัญที่ทำให้ระบบข้อมูลมีขีดความสามารถเพิ่มขึ้น คือ การโอนย้ายข้อมูลระหว่างกัน และการเชื่อมต่อหรือการสื่อสาร การโอนย้ายข้อมูลหมายถึงการนำข้อมูลมาแบ่งกันใช้งาน หรือการนำข้อมูลไปใช้ประมวลผลในลักษณะแบ่งกันใช้ทรัพยากร เช่น แบ่งกันใช้ซีพียู แบ่งกันใช้ฮาร์ดดิสก์ แบ่งกันใช้โปรแกรม และแบ่งกันใช้อุปกรณ์อื่น ๆ ที่มีราคาแพงหรือไม่สามารถจัดหาให้ทุกคนได้ การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นเครือข่ายจึงเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานให้กว้างขวางและมากขึ้นจากเดิม การเชื่อมต่อในความหมายของระบบเครือข่ายท้องถิ่น ไม่ได้จำกัดอยู่ที่การเชื่อมต่อระหว่างเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ แต่ยังรวมไปถึงการเชื่อมต่ออุปกรณ์รอบข้าง เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าทำให้การทำงานเฉพาะมีขอบเขตกว้างขวางยิ่งขึ้น มีการใช้เครื่องบริการแฟ้มข้อมูลเป็นที่เก็บรวบควมแฟ้มข้อมูลต่างๆ มีการทำฐานข้อมูลกลาง มีหน่วยจัดการระบบสือสารหน่วยบริการใช้เครื่องพิมพ์ หน่วยบริการการใช้ซีดี หน่วยบริการปลายทาง และอุปกรณ์ประกอบสำหรับต่อเข้าในระบบเครือข่ายเพื่อจะทำงานเฉพาะเจาะจงอย่างใดอย่างหนึ่ง ในรูป เป็นตัวอย่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่จัดกลุ่มเชื่อมโยงเป็นระบบ ตัวอย่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่จัดกลุ่มอุปกรณ์รอบข้างเชื่อมโยงเป็นระบบ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ก่อให้เกิดความสามารถในการปฎิบัติการร่วมกัน ซึ่งหมายถึงการให้อุปกรณ์ทุกชิ้นที่ต่ออยู่บนเครือข่ายทำงานร่วมกันได้ทั้งหมดในลักษณะที่ประสานรวมกัน โดยผู้ใช้เห็นเสมือนใช้งานในอุปกรณ์เดียวกัน จึงเป็นวิธีการในการนำเอาอุปกรณ์ต่างชนิดจำนวนมาก มารวมกันเป็นเสมือนระบบเดียวกัน ทั้ง ๆ ที่อุปกรณ์เหล่านั้นอาจจะมาจากต่างยี่ห้อ ต่างบริษัท ก็ได้ ความหมายของระบบเครือข่าย ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) หมายถึงการนำเครื่องคอมพิวเตอร์ มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน โดยอาศัยช่องทางการสื่อสารข้อมูล เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ และการใช้ทรัพยากรของระบบร่วมกัน (Shared Resource) ในเครือข่ายนั้น รูปแสดงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีองค์ประกอบที่สำคัญ เพื่อการเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ได้แก่ คอมพิวเตอร์แม่ข่าย (File Server) ช่องทางการสื่อสาร (Communication Chanel) สถานีงาน (Workstation or Terminal) และ อุปกรณ์ในเครือข่าย (Network Operation System) คอมพิวเตอร์แม่ข่าย คอมพิวเตอร์แม่ข่าย หมายถึงคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการทรัพยากร (Resources) ต่าง ๆ ซึ่งได้แก่ หน่วยประมวลผล หน่วยความจำ หน่วยความจำสำรอง ฐานข้อมูล และ โปรแกรมต่าง ๆ เป็นต้น ในระบบเครือข่ายท้องถิ่น (LAN) มักเรียกว่าคอมพิวเตอร์แม่ข่าย ในระบบเครือข่ายระยะไกล ที่ใช้เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ หรือ มินิคอมพิวเตอร์เป็นศูนย์กลางของเครือข่าย เรานิยมเรียกว่า Host Computer และเรียกเครื่องที่รอรับบริการว่าลูกข่ายหรือสถานีงาน ช่องทางการสื่อสาร ช่องทางการสื่อสาร หมายถึง สื่อกลางหรือเส้นทางที่ใช้เป็นทางผ่าน ในการรับส่งข้อมูล ระหว่างผู้รับ (Receiver) และผู้ส่งข้อมูล (Transmitter) ปัจจุบันมีช่องทางการสื่อสาร สำหรับการเชื่อมต่อเครือข่าย คอมพิวเตอร์มีหลายประเภทคือ สายโทรศัพท์แบบสายคู่ตีเกลียวไม่มีฉนวนหุ้ม (UTP) สายคู่ตีเกลียว แบบมีฉนวนหุ้ม (STP) สายโคแอคเชียล สายใยแก้วนำแสง คลื่นไมโครเวป และดาวเทียม เป็นต้น รูปแสดงช่องทางการสื่อสารโดยใช้จานรับดาวเทียม สถานีงาน สถานีงาน (Workstation or Terminal) หมายถึง อุปกรณ์หรือเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่อ กับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่เป็นสถานีปลายทางหรือสถานีงาน ที่ได้รับการบริการจากเครื่อง คอมพิวเตอร์แม่ข่าย เรียกว่าเป็นคอมพิวเตอร์ลูกข่าย (Workstation) ในระบบเครือข่ายระยะใกล้ มักมีหน่วยประมวลผล หรือซีพียูของตนเอง ในระบบที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรม เป็นศูนย์กลาง เรียกสถานีปลายทางว่าเทอร์มินอล (Terminal) ประกอบด้วยจอภาพและแป้นพิมพ์เท่านั้น ไม่มีหน่วยประมวลกลางของตัวเอง ต้องใช้หน่วยประมวลผลของคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางหรือ Host อุปกรณ์ในเครือข่าย การ์ดเชื่อมต่อเครือข่าย (Network Interface Card :NIC) หมายถึง แผงวงจรสำหรับ ใช้ในการเชื่อมต่อสายสัญญาณของเครือข่าย ติดตั้งไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นเครื่องแม่ข่าย และเครื่องที่เป็นลูกข่าย หน้าที่ของการ์ดนี้คือแปลงสัญญาณจากคอมพิวเตอร์ส่งผ่านไปตามสายสัญญาณ ทำให้คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันได้ รูปแสดงการ์ดเชื่อมต่อเครือข่าย องค์ประกอบของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โมเด็ม ( Modem : Modulator Demodulator) หมายถึง อุปกรณ์สำหรับการแปลงสัญญาณดิจิตอล (Digital) จากคอมพิวเตอร์ด้านผู้ส่ง เพื่อส่งไปตามสายสัญญาณข้อมูลแบบอนาลอก(Analog) เมื่อถึงคอมพิวเตอร์ด้านผู้รับ โมเด็มก็จะทำหน้าที่แปลงสัญญาณอนาลอก ให้เป็นดิจิตอลนำเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อทำการประมวลผล โดยปกติจะใช้โมเด็มกับระบบเครือข่ายระยะไกล โดยการใชสายโทรศัพท์เป็นสื่อกลาง เช่น เครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นต้น รูปแสดงการใช้โมเด็มในการติดต่อเครือข่ายระยะไกล ฮับ ( Hub) คือ อุปกรณ์เชื่อมต่อที่ใช้เป็นจุดรวม และ แยกสายสัญญาณ เพื่อให้เกิดความสะดวก ในการเชื่อมต่อของเครือข่ายแบบดาว (Star) โดยปกติใช้เป็นจุดรวมการเชื่อมต่อสายสัญญาณระหว่าง File Server กับ Workstation ต่าง ๆ แสดงฮับที่ใช้เป็นจุดเชื่อมต่อและจุดแยกของสาย ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการเครือข่าย ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการเครือข่าย หมายถึง ซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ จัดการระบบเครือข่ายของคอมพิวเตอร์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่ออยู่กับเครือข่าย สามารถติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ ทำหน้าที่จัดการด้านการรักษาความปลอดภัย ของระบบเครือข่าย และยังมีหน้าที่ควบคุม การนำโปรแกรมประยุกต์ ด้านการติดต่อสื่อสาร มาทำงานในระบบเครือข่ายอีกด้วย นับว่าซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการเครือข่าย มีความสำคัญต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์อย่างยิ่ง ตัวอย่าง ซอฟต์แวร์ประเภทนี้ได้แก่ ระบบปฏิบัติการ Windows NT , Linux , Novell Netware , Windows XP ,Windows 2000 , Solaris , Unix เป็นต้น แสดงซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการเครือข่าย โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (TOPOLOGY) การนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อกันเพื่อประโยชน์ของการสื่อสารนั้น สามารถกระทำได้หลายรูปแบบ ซึ่งแต่ละแบบก็มีจุดเด่นที่แตกต่างกันไป โดยทึ่วไปแล้วโครงสร้างของเครือข่ายคอมพิวเตอร์สามารถจำแนกตามลักษณะของการเชื่อมต่อดังต่อไปนี้ 1. โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบบัส (bus topology) โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบบัส จะประกอบด้วย สายส่งข้อมูลหลัก ที่ใช้ส่งข้อมูลภายในเครือข่าย เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง จะเชื่อมต่อเข้ากับสายข้อมูลผ่านจุดเชื่อมต่อ เมื่อมีการส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หลายเครื่องพร้อมกัน จะมีสัญญาณข้อมูลส่งไปบนสายเคเบิ้ล และมีการแบ่งเวลาการใช้สายเคเบิ้ลแต่ละเครื่อง ข้อดีของการเชื่อมต่อแบบบัส คือ ใช้สื่อนำข้อมูลน้อย ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่าย และถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งเสียก็จะไม่ส่งผลต่อการทำงานของระบบโดยรวม แต่มีข้อเสียคือ การตรวจจุดที่มีปัญหา กระทำได้ค่อนข้างยาก และถ้ามีจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายมากเกินไป จะมีการส่งข้อมูลชนกันมากจนเป็นปัญหา 2. โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบวงแหวน (ring topology) โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบวงแหวน มีการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์โดยที่แต่ละการเชื่อมต่อจะมีลักษณะเป็นวงกลม การส่งข้อมูลภายในเครือข่ายนี้ก็จะเป็นวงกลมด้วยเช่นกัน ทิศทางการส่งข้อมูลจะเป็นทิศทางเดียวกันเสมอ จากเครื่องหนึ่งจนถึงปลายทาง ในกรณีที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งขัดข้อง การส่งข้อมูลภายในเครือข่ายชนิดนี้จะไม่สามารถทำงานต่อไปได้ ข้อดีของโครงสร้าง เครือข่ายแบบวงแหวนคือ ใช้สายเคเบิ้ลน้อย และถ้าตัดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เสียออกจากระบบ ก็จะไม่ส่งผลต่อการทำงานของระบบเครือข่ายนี้ และจะไม่มีการชนกันของข้อมูลที่แต่ละเครื่องส่ง 3. โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบดาว (star topology) โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบดาว ภายในเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะต้องมีจุกศูนย์กลางในการควบคุมการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ หรือ ฮับ (hub) การสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ จะสื่อสารผ่านฮับก่อนที่จะส่งข้อมูลไปสู่เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ แบบดาวมีข้อดี คือ ถ้าต้องการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ก็สามารถทำได้ง่ายและไม่กระทบต่อเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ในระบบ ส่วนข้อเสีย คือ ค่าใช้จ่ายในการใช้สายเคเบิ้ลจะค่อนข้างสูง และเมื่อฮับไม่ทำงาน การสื่อสารของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบก็จะหยุดตามไปด้วย

องค์ประกอบของการสื่อสารข้อมูล

องค์ประกอบของการสื่อสารข้อมูล การสื่อสารข้อมูลมีองค์ประกอบ 5 อย่าง (ดังรูป) ได้แก่ 1. ผู้ส่ง (Sender) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการส่งข่าวสาร (Message) เป็นต้นทางของการสื่อสารข้อมูลมีหน้าที่เตรียมสร้างข้อมูล เช่น ผู้พูด โทรทัศน์ กล้องวิดีโอ เป็นต้น 2. ผู้รับ (Receiver) เป็นปลายทางการสื่อสาร มีหน้าที่รับข้อมูลที่ส่งมาให้ เช่น ผู้ฟัง เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น 3. สื่อกลาง (Medium) หรือตัวกลาง เป็นเส้นทางการสื่อสารเพื่อนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง สื่อส่งข้อมูลอาจเป็นสายคู่บิดเกลียว สายโคแอกเชียล สายใยแก้วนำแสง หรือคลื่นที่ส่งผ่านทางอากาศ เช่น เลเซอร์ คลื่นไมโครเวฟ คลื่นวิทยุภาคพื้นดิน หรือคลื่นวิทยุผ่านดาวเทียม 4. ข้อมูลข่าวสาร (Message) คือสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผ่านไปในระบบสื่อสาร ซึ่งอาจถูกเรียกว่า สารสนเทศ (Information) โดยแบ่งเป็น 5รูปแบบ ดังนี้ 4.1 ข้อความ (Text) ใช้แทนตัวอักขระต่าง ๆ ซึ่งจะแทนด้วยรหัสต่าง ๆ เช่น รหัสแอสกี เป็นต้น 4.2 ตัวเลข (Number) ใช้แทนตัวเลขต่าง ๆ ซึ่งตัวเลขไม่ได้ถูกแทนด้วยรหัสแอสกีแต่จะถูกแปลงเป็นเลขฐานสองโดยตรง 4.3 รูปภาพ (Images) ข้อมูลของรูปภาพจะแทนด้วยจุดสีเรียงกันไปตามขนาดของรูปภาพ 4.4 เสียง (Audio) ข้อมูลเสียงจะแตกต่างจากข้อความ ตัวเลข และรูปภาพเพราะข้อมูลเสียงจะเป็นสัญญาณต่อเนื่องกันไป 4.5 วิดีโอ (Video) ใช้แสดงภาพเคลื่อนไหว ซึ่งเกิดจากการรวมกันของรูปภาพหลาย ๆ รูป 5. โปรโตคอล (Protocol) คือ วิธีการหรือกฎระเบียบที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลเพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งสามารถเข้าใจกันหรือคุยกันรู้เรื่อง โดยทั้งสองฝั่งทั้งผู้รับและผู้ส่งได้ตกลงกันไว้ก่อนล่วงหน้าแล้ว ในคอมพิวเตอร์โปรโตคอลอยู่ในส่วนของซอฟต์แวร์ที่มีหน้าที่ทำให้การดำเนินงาน ในการสื่อสารข้อมูลเป็นไปตามโปรแกรมที่กำหนดไว้ ตัวอย่างเช่น X.25, SDLC, HDLC, และ TCP/IP เป็นต้น

ระบบสารสนเทศที่ดี

ลักษณะของสารสนเทศที่ดีมีอะไรบ้าง ลักษณ ลักษณะของสารสนเทศที่ดีมีอะไรบ้าง ที่น่าสนใจ 100 คะแนน 7 คำตอบ มีการดู 127663 ครั้ง 3 สายชล ธิน้อมธรรม 15 ธ.ค. 2551, 10:21:05 แจ้งการละเมิด ลักษณะของสารสนเทศที่ดีมีอะไรบ้าง ลักษณ ลักษณะของสารสนเทศที่ดีมีอะไรบ้าง ตอบ รับการแจ้งทางอีเมลเมื่อได้รับคำตอบใหม่ คำตอบ จัดเรียงตามเวลา จัดเรียงตามการลงคะแนน 24 gigipapa 15 ธ.ค. 2551, 11:00:05 แจ้งการละเมิด คุณลักษณะของสารสนเทศที่ดี ในการจัดการเพื่อให้องค์การบรรลุถึงประสิทธิผลและประสิทธิภาพที่องค์การตั้งไว้นั้น ดังที่กล่าวมาแล้วว่าข้อมูลและสารสนเทศเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างมากต่อทุกองค์การ ทั้งนี้สารสนเทศที่ดีควรมีลักษณะ ดังต่อไปนี้ 1. ความเที่ยงตรง (Accuracy) สารสนเทศขององค์การที่ดีจะต้องมีความเที่ยงตรงและเชื่อถือได้ โดยไม่ให้มีความคลาดเคลื่อนหรือมีความคลาดเคลื่อนน้อยที่สุด ดังนั้นประสิทธิผลของการตัดสินใจจึงขึ้นอยู่กับความถูกต้องหรือความเที่ยงตรง ย่อมส่งผลกระทบทำให้การตัดสินใจมีความผิดพลาดตามไปด้วย 2. ทันต่อความต้องการใช้ (Timeliness) นอกเหนือจากสารสนเทศขององค์การจะต้องมีความเที่ยงตรงหรือความถูกต้องแล้ว ยังจะต้องมีคุณสมบัติของการที่สามารถนำสารสนเทศมาใช้ได้ทันทีเมื่อต้องการใช้ข้อมูล หรือเพื่อการตัดสินใจ ทั้งนี้เนื่องจากเหตุการณ์ต่าง ๆ ทางการบริหารทั้งภายในและภายนอกองค์การมีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะสารสนเทศด้านการขาย การผลิต ตลอดจนด้านการเงิน ถ้าผู้บริหารได้รับมาล่าช้า ก็จะส่งผลกระทบต่อ ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการตัดสินใจ หรือการดำเนินงานของผู้บริหารที่จะลดลงตามไปด้วย 3. ความสมบูรณ์ (Completeness) สารสนเทศขององค์การที่ดี จะต้องมีความสมบูรณ์ที่จะช่วยทำให้การตัดสินใจเป็นไปด้วยความถูกต้อง การมีสารสนเทศที่มีปริมาณมาก ไม่ได้หมายถึงการที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิผลของการดำเนินงาน สารสนเทศที่มีมากเกินไปอาจเป็นสารสนเทศที่ไม่มีความสำคัญ เช่นเดียวกับการมีสารสนเทศที่มีปริมาณน้อยเกินไป ก็อาจทำให้ไม่ได้สารสนเทศที่สำคัญครบเพียงพอทุกด้านที่จะนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิผล และมีประสิทธิภาพ แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่าจะต้องรอให้มีสารสนเทศครบถ้วน 100 เปอร์เซ็นต์ก่อนจึงจะทำการตัดสินใจได้ เช่น จะตัดสินใจเกี่ยวกับอัตราการใช้สินค้า ปริมาณสินค้าคงเหลือ ราคาต่อหน่วย แหล่งผู้ผลิตค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อ ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษา ระยะเวลารอคอยของสินค้าแต่ละชนิด ดังนั้นจะตัดสินใจเกี่ยวกับการบริหารสินค้าคงเหลือให้มีประสิทธิภาพ ก็จำเป็นที่จะต้องได้รับสารสนเทศในทุกเรื่อง การขาดไปเพียงบางเรื่องจะส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจอย่างมากเป็นต้น จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่า ไม่ได้หมายความว่ามีสารสนเทศมากเฉพาะในบางด้าน ขณะที่สารสนเทศในบางด้านไม่มีหรือมีไม่เพียงพอต่อการตัดสินใจ แต่จะต้องได้รับสารสนเทศที่สำคัญครบในทุกด้านที่ทำการตัดสินใจ 4. การสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ (Relevance) สารสนเทศขององค์การที่ดีจะต้องมีคุณลักษณะที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ จะต้องตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้ที่จะนำไปใช้ในการตัดสินใจได้ ดังนั้นในการที่องค์การจะออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศในองค์การนั้น การสอบถามความต้องการของสารสนเทศที่ผู้ใช้ต้องการเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญอย่างมาก เช่น สนเทศในการบริหารการผลิต การตลาด และการบริหารทรัพยากรมนุษย์ เป็นต้น 5. ตรวจสอบได้ (Verifiability) สารสนเทศที่ดีควรมีคุณลักษณะที่สามารถจะตรวจสอบได้โดยเฉพาะแหล่งที่มา การจัดรูปแบบการวิเคราะห์ข้อมูลที่ใช้ ทั้งนี้เพื่อให้การตัดสินใจได้เกิดความรอบครอบ การที่ผู้บริหารมองเห็นสารสนเทศบางเรื่องแล้วพบว่าทำไมจึงมีค่าที่ต่ำเกินไป หรือสูงเกินไป อาจต้องตรวจสอบความถูกต้องของสารสนเทศที่ได้มา ทั้งนี้ก็เพื่อมิให้การติดสินใจเกิดความผิดพลาด คุณลักษณะดังกล่าวข้างต้น มีความสำคัญอย่างยิ่งที่ผู้บริหารงานบุคคลจะต้องพยายามจัดระบบให้มีความพร้อมครบถ้วนและพร้อมที่จะใช้งานได้ ปัญหาสำคัญที่องค์การส่วนมากมักจะต้องเผชิญ คือ การไม่สามารถสนองข้อมูลที่เกี่ยวกับบุคคลให้ทันกับความจำเป็นใช้ในการที่จะต้องดำเนินการหรือตัดสินปัญหาบางประการ ดังเช่น ถ้าหากมีเหตุเฉพาะหน้าที่ต้องการบุคคลที่มี คุณสมบัติอย่างหนึ่งในการบรรจุเข้าตำแหน่งหนึ่งอย่างรวดเร็วในเวลาอันสั้น ซึ่งหากผู้จัดเตรียม ข้อมูลจะต้องใช้เวลาประมวลขึ้นมานานเป็นเดือนก็ย่อมถือได้ว่า ข้อมูลที่สนองให้นั้นช้ากว่าเหตุการณ์ หรือในอีกทางหนึ่ง บางครั้งแม้จะเสนอข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว แต่เป็นข้อมูลที่เป็นรายละเอียดมากเกินไปที่ไม่อาจพิจารณาแยกแยะคุณสมบัติที่สำคัญ หรือข้อมูลที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับบุคคลอย่างเด่นชัด ก็ย่อมทำให้การใช้ข้อมูลนั้นเป็นไปด้วยความยากลำบาก นอกจากลักษณะที่ดีของสารสนเทศดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีคุณสมบัติที่แอบแฝงของสารสนเทศอีกบางลักษณะที่สัมพันธ์กับระบบสารสนเทศ และวิธีการดำเนินงานของระบบ สารสนเทศ ซึ่งจะมีความสำคัญแตกต่างกันไปตามลักษณะงานเฉพาะอย่าง ซึ่งได้แก่ 1. ความละเอียดแม่นยำ คือ สารสนเทศจะต้องมีความละเอียดแม่นยำในการวัดข้อมูล ให้ความเชื่อถือได้สูง มีรายละเอียดของข้อมูล และแหล่งที่มาของข้อมูลที่ถูกต้อง 2. คุณสมบัติเชิงปริมาณ คือความสามารถที่จะแสดงออกมาในรูปของตัวเลขได้ และสามารถเปรียบเทียบในเชิงปริมาณได้ 3. ความยอมรับได้ คือ ระดับความยอมรับได้ของกลุ่มผู้ใช้สารสนเทศอย่างเดียวกัน สารสนเทศควรมีลักษณะเดียวกันในกลุ่มผู้ใช้งาน หรือใกล้เคียงกันโดยสามารถใช้ร่วมกันได้ เช่น การใช้เครื่องมือเพื่อวัดคุณภาพการผลิตสินค้า เครื่องมือดังกล่าวจะต้องเป็นที่ยอมรับได้ว่าสามารถวัดค่าของคุณภาพได้อย่างถูกต้อง 4. การใช้ได้ง่าย คือ ความสามารถนำไปใช้งานได้ง่าย สะดวกและรวดเร็ว ทั้งในส่วนของผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน 5. ความไม่ลำเอียง ซึ่งหมายถึง ไม่เป็นสารสนเทศที่มีจุดประสงค์ที่จะปกปิดข้อเท็จจริงบางอย่าง ซึ่งทำให้ผู้ใช้เข้าใจผิดไปจากความเป็นจริง หรือแสดงข้อมูลที่ผิดจากความเป็นจริง 6. ชัดเจน ซึ่งหมายถึง สารสนเทศจะต้องมีความคลุมเครือน้อยที่สุด สามารถทำความเข้าใจได้ง่าย 19 น้องวุฒิน่ารัก (น้องวุฒิน่ารัก มากมาย) 15 ธ.ค. 2551, 10:54:27 แจ้งการละเมิด ลักษณะของสารสนเทศที่ดี คือ สารสนเทศต้องถูกต้องเม่นยำ เมื่อพิจารณาสารสนเทศแล้วต้องเข้าใจง่ายมีวิธีการรวบรวมข้อมูลที่น่าเชื่อ ถือ และเป็นวิธีที่ประหยัดเหมาะสมกับราคา นอกจากนี้ต้องตรวจสอบได้ ยืดหยุ่น สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้และที่สำคัญต้องมีความปลอดภัย 8 sam2551 15 ธ.ค. 2551, 15:52:35 แจ้งการละเมิด ลอกๆเขามาเล่าต่อได้แบบง่ายๆ คุณสมบัติของข้อมูลที่ดี ถูกต้อง (Accurate) ทันเวลา (Timeliness) สอดคล้องกับงาน (Relevance) สามารถตรวจสอบได้ (Verifiable) -------------------------------------------------------------------------------- การพัฒนาระบบสารสนเทศต้องคำนึงถึงคุณสมบัติของ MIS ความสามารถในการจัดการข้อมูล (Data manipulation) ความปลอดภัยของข้อมูล (Data security) ความยืดหยุ่น (Flexibility) ความพอใจของผู้ใช้ (User satisfaction) -------------------------------------------------------------------------------- ประโยชน์ของ MIS ช่วยให้ได้ข้อมูลที่ต้องการ ได้ทันเหตุการณ์ ช่วยให้กำหนดกลยุทธ์ และวางแผนปฏิบัติการได้ ช่วยให้ตรวจสอบผลการดำเนินงานได้ ช่วยให้ศึกษา และวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา ช่วยให้สามารถวิเคราะห์ปัญหา หรืออุปสรรค เพื่อหาวิธีแก้ไข ช่วยลดค่าใช้จ่าย -------------------------------------------------------------------------------- การจัดโครงสร้างของสารสนเทศตามการนำไปใช้แบ่งได้ 4 ระดับ Top management : ระดับวางแผนกลยุทธ์ นโยบาย และการตัดสินใจ Middle management : ระดับวางแผนการปฏิบัติการ ในระดับยุทธวิธี Bottom management : ระดับควบคุมการปฏิบัติการ และขั้นตอนต่าง ๆ Operation : ระดับปฏิบัติการ -------------------------------------------------------------------------------- ระบบย่อย หรือส่วนประกอบของ MIS ระบบประมวลผลรายการ (TPS = Transaction processing Systems) เช่น การบันทึกรายการบัญชี การขาย การผลิต เป็นต้น ระบบการจัดการรายงาน (MRS = Management Reporting System) ช่วยจัดเตรียมรายงานสนองความต้องการของผู้ใช้ เช่น Grade report ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (DSS = Decision Support System) ช่วยเตรียมรายงาน เพื่อเป็นประโยชน์ในการตัดสินใจของผู้บริหารระดับต่าง ๆ ระบบสารสนเทศสำนักงาน (OIS = Office Information System) ระบบสารสนเทศในสำนักงานโดยอาศัยอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ -------------------------------------------------------------------------------- การรวมความสัมพันธ์ของแต่ละระบบย่อยเข้าด้วยกัน ESS = Executive Support Systems MIS = Management Information Systems DDS = Decision Support Systems OIS = Office Information Systems TPS = Transaction Processing Systems -------------------------------------------------------------------------------- การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ (Information Resource Management) สารสนเทศถือเป็นทรัพยากรหนึ่งที่จำเป็นต่อการบริหารในองค์กร จึงต้องมีการจัดสรร และจัดการอย่างเป็นระบบ -------------------------------------------------------------------------------- กระบวนการการประมวลผล แนะการนำไปใช้ ข้อมูล (Data) การประมวลผล (Process) สารสนเทศ (Information) ผู้บริหาร (Administrator) การตัดสินใจ (Decision) -------------------------------------------------------------------------------- เป้าหมายของระบบสารสนเทศ (Objective of information system) เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน เพิ่มผลผลิต เพิ่มคุณภาพในการบริการลูกค้า ผลิตสินค้าใหม่ และขยายผลิตภัณฑ์ สร้างทางเลือกในการแข่งขัน สร้างโอกาสทางธุรกิจ ครองใจลูกค้า และปกป้องจากคู่แข่ง -------------------------------------------------------------------------------- พื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศ ส่วนประกอบของระบบสารสนเทศบนพื้นฐานทางคอมพิวเตอร์ (input,memory,arithmetic and logic,control,output) - Hardware - Software - Data - People ผู้เขียนโปรแกรม ผู้ใช้ และผู้วิเคราะห์ระบบ เทคนิคในการปฏิบัติของระบบสารสนเทศบนพื้นฐานคอมพิวเตอร์ (Technical operation of Computer-Base Information Systems = CBIS) การจัดข้อมูลบนพื้นฐานของคอมพิวเตอร์ รูปแบบการประมวลผล -------------------------------------------------------------------------------- แหล่งของข้อมูลสารสนเทศ 1. แหล่งข้อมูลภายนอก 2. แหล่งข้อมูลภายใน 2.1 สารสนเทศที่ได้มาจากการประมวลผลข้อมูล 2.2 สารสนเทศที่ได้จากแหล่งอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการประมวลผล 2.3 สารสนเทศที่ได้จากผู้บริหารในระดับที่ต่ำ