จำนวนผู้เข้าชม

วันอาทิตย์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2556

เปิดสวนทุเรียนเมื่องจันทบุรี


ทุเรียนเมื่องจันทบุรี
 สวนทุเรียนนนท์ 3 ผล หมื่น  สวนทุเรียนนนท์ 3 ผล หมื่น
“ป้า มีลูก 5 คน ทุกคนได้เรียนหนังสือ อยู่ดีกินดี เพราะทุเรียนเป็นหลัก แถมมีผลกำไรมาขยับขยายที่ดินเพิ่ม จึงอดจะแปลกใจไม่ได้ว่าเกษตรกรหลายคน เขาทำสวนส่งลูกเรียนหนังสือ กว่าลูกจะเรียนจบต้องขายสวนหมด เป็นไปได้ยังไง เพราะการทำสวนทุเรียนถ้าทำจริงจัง ให้ความรักใส่ใจ ป้าบอกได้เลยว่า ถ้าใครทำงานมีเงินเดือน 20,000-30,000 บาท เปลี่ยนมาทำสวนทุเรียนดีกว่า”
จัดทริปพาเที่ยวสวนเมืองนนท์ มาหลายต่อหลายครั้ง แต่กระนั้นยังไม่เคยพาผู้ร่วมทางไปสวนทุเรียน ผลไม้ขึ้นชื่อประจำจังหวัด
ปลายเดือนเมษายน (30 เมษายน 2554) จึงสบโอกาสดี ประจวบเหมาะกับทุเรียนนนท์หลากหลายสายพันธุ์กำลังให้ผลผลิตเป็นที่น่าชื่นชม
ฉบับ นี้จึงขอเรียกน้ำย่อย ด้วยการเกริ่นกล่าวเล่าเรื่องราวเฉพาะสวนทุเรียนเมืองนนท์ (ยังมีอีกหลายสวน หลายสถานที่ กับเส้นทางนี้) พอหอมปากหอมคอ
อนุรักษ์พันธุ์เก่า
เรื่องเล่าทุเรียนนนท์
ท่าม กลางความร่มรื่น มีต้นทุเรียนไม้หลักให้ร่มเงา ซึ่งขณะนี้ กำลังออกดอกสีขาวสะพรั่ง เรียกเหล่าแมลงผสมเกสรให้บินว่อนรอบทิศทาง เสียงนกร้องขับกับเสียงแมลงกลางวัน เราเดินผ่านคันสวนจวบจนมาหยุดยืนบริเวณเพิงพัก
บรรยากาศเช่นนี้หาได้ที่สวนทุเรียนของ ป้าไสว ทัศนียเวช…
ป้า ไสว ในวัยกว่า 70 ปี ที่ยังดูท่าทีกระปรี้กระเปร่า เชื้อเชิญให้ทีมงานเกษตรสัญจร นั่งบนเก้าอี้แผ่นกระดานไม้ทอดยาวขนานไปกับแนวพื้นดิน จากนั้นเกริ่นกล่าวเล่าถึงเส้นทางสายเกษตรกรว่า เริ่มต้นทำสวนทุเรียนมาตั้งแต่อายุ 12 ปี โดยมีพ่อเป็นครูผู้ถ่ายทอดวิชา
กระทั่งอายุ 20 ปี ถึงคราวออกเรือน สมบัติพื้นที่สวนขนาด 2 ไร่ คือรางวัลที่บุพการีมอบให้สานต่อ…
จวบจนบัดนี้ พื้นที่ปลูกขยับขยายเป็น 25 ไร่ ซึ่งป้าไสว ยังคงใส่ใจทุเรียนทุกต้น ประดุจ “ลูก”
สาย พันธุ์เก่าแก่ อาทิ กบแม่เฒ่า กบตาขำ กำปั่นพวง ชมพูศรี ชะนี กระดุม ถูกอนุรักษ์ไว้ภายในสวนแห่งนี้ และที่โดดเด่นจนเลื่องลือ คือก้านยาว กับราคาขาย 2-3 ผล 10,000 บาท
“ต้นทุเรียนอายุเก่าแก่กว่า 60 ปี ยังอยู่และให้ผล แต่กระนั้นในช่วงน้ำท่วมตั้งแต่ปี 2485 เรื่อยมา ทุเรียนตายเกือบหมด เริ่มแรกพ่อหาพันธุ์มาปลูกเพิ่ม แลกกับสวนอื่นๆ บ้าง ทำให้ได้สายพันธุ์หลากหลาย ซึ่งนี่คือข้อดีของการปลูกทุเรียนแบบให้รสอร่อย เนื้อเนียน”
คุณป้าไสว ยังแย้มให้ฟังว่า สภาพพื้นดินมีผลต่อรสชาติเช่นกัน ซึ่งกับพื้นที่แห่งนี้มีดิน 3 ชั้น คือด้านล่างเป็นเลน ถัดมาเป็นดินเหนียว และชั้นบนสุดดินร่วนซุย ตรงตามความชอบของต้นไม้ชนิดนี้ แต่กระนั้น หากสภาพพื้นดินไม่เป็นใจ เจ้าของสวนผู้มากประสบการณ์ มีวิธีแก้ไข
ส่วนจะเป็นอะไรนั้น ขออุบไว้ เพื่อไปหาคำตอบพร้อมๆ กัน ในช่วงปลายเดือนเมษายน…
ปลูกทุเรียนอย่าคาดหวัง
รับตังค์เดือนละหลายแสน
คุณป้าไสว ว่า ปลูกทุเรียนนนท์ต้องไม่คาดหวังกับผลผลิต แต่สิ่งควรทำ คือ ความทุ่มเท เอาใจใส่ ประดุจสมาชิกในครอบครัว
“ทุเรียน นนท์ คาดหวังไม่ได้ว่าปีนี้จะออกมากออกน้อย บางต้นบางปีไม่ออกดอกเลยก็มี ทุเรียนนนท์เป็นการปลูกเอารสชาติ ไม่ใช่ปริมาณ ฉะนั้น ผู้ปลูกต้องใส่ใจ ต้องรัก เพราะมีรายละเอียดค่อนข้างมากตั้งแต่เริ่มปลูก เหมือนเราคลอดลูก ต้องประคบประหงม คอยประคอง ดูว่าต้องการอะไร อาหารตามช่วงวัย หรือช่วงไหนควรให้ไม่ควรให้
ต้องดูกันตั้งแต่สภาพพื้นดิน แหล่งน้ำ ทุเรียนชอบความชุ่มชื้น ในขณะเดียวกันก็นิยมแสงแดด และศัตรูที่ร้ายกาจคือปลวก กัดกินรากเป็นอาหาร ไม่เพียงเท่านั้นยังสร้างอุโมงค์ใต้พื้นดิน ทำให้สภาพดินแข็ง รดน้ำไม่ลง ในที่สุดทุเรียนจะตาย”
ทุกวันนี้ เวลาเข้าสวน ในมือของคุณป้าไสว จะกำชะแลงอาวุธคู่กาย คอยแคะขุดพื้นที่รอบต้นทุเรียน เพื่อหาศัตรูตัวร้ายที่เข้ามารุกราน
แม้ มีรายละเอียดให้ต้องใส่ใจ ให้ต้องแก้ไขไม่เว้นวัน แต่กระนั้น คุณป้าไสว กลับบอกว่า อาชีพการปลูกทุเรียนคือชีวิต คือความเพลิดเพลิน คือความสุข ยิ่งได้เห็นตัวเลขยอดขายในแต่ละปี ซึ่งมีจำนวนหลายแสนบาท เม็ดเหงื่อก็จางหาย เหลือไว้แต่รอยยิ้มสดใส
“ป้ามีลูก 5 คน ทุกคนได้เรียนหนังสือ อยู่ดีกินดี เพราะทุเรียนเป็นหลัก แถมมีผลกำไรมาขยับขยายที่ดินเพิ่ม จึงอดจะแปลกใจไม่ได้ว่าเกษตรกรหลายคน เขาทำสวนส่งลูกเรียนหนังสือ กว่าลูกจะเรียนจบต้องขายสวนหมด เป็นไปได้ยังไง เพราะการทำสวนทุเรียนถ้าทำจริงจัง ให้ความรักใส่ใจ ป้าบอกได้เลยว่า ถ้าใครทำงานมีเงินเดือน 20,000-30,000 บาท เปลี่ยนมาทำสวนทุเรียนดีกว่า”
ภาย ในสวนของป้าไสว ภายใต้พืชหลักอย่างทุเรียน ยังมีพืชผลอื่นปลูกแซมสร้างรายได้ระหว่างรอ “มังคุดนนทบุรี ถือว่าได้รับความนิยม ขายกิโลกรัมละ 50-100 บาท ปีๆ หนึ่งทำรายได้หลักแสนเหมือนกัน ส่วนที่ให้ผลตอบแทนไม่ขาดช่วงคือ กล้วยน้ำว้า และกล้วยตานี ซึ่งกับกล้วยตานี ปลูกไว้ให้ร่มเงา จากนั้นตัดใบขาย มีรายรับเดือนละประมาณ 9,000 บาท”
สำหรับพันธุ์ ทุเรียนได้รับความนิยม และปลูกไว้จำนวนมาก ณ สวนแห่งนี้ คือ หมอนทอง ก้านยาว และชะนี ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ในช่วงติดดอกออกผล รอวันเก็บเกี่ยวปลายเดือนเมษายน
หากใครสนใจใคร่ชมกรรมวิธีปลูก ซึ่งต้องบอกว่า คุณป้าไสวมีเทคนิคทั้งใหม่และเก่ามาเล่าให้ฟัง ดังเช่นว่า การเลี้ยง “ชันโรง” ไว้ในสวน, ปลูกพืชเสริมชนิดใดไม่ทำร้ายทุเรียน, วิธีปลูกแบบต่อกิ่ง ตอนกิ่ง หรือใช้เมล็ด ดีกว่ากัน และอีกหลายเทคนิค เชื่อว่าหลายท่านไม่เคยรู้มาก่อน
ฉะนั้น ทริปเดือนเมษายนนี้ เราไปนนทบุรีกัน…

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น