จำนวนผู้เข้าชม

วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2555

ประเภทของระบบสารสนเทศ

ประเภทของระบบสารสนเทศ

เทคโนโลยีของระบบสารสนเทศในปัจจุบัน จะประกอบด้วยระบบต่างๆ คือ
  1. ระบบประมวลผลข้อมูล (Data Processing System หรือ Transaction Processing System : TPS)
  2. ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (Management Information System : MIS)
  3. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System : DSS)
  4. ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง (Executive Information System : EIS)
  5. ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation System : OS)
  6. ระบบปัญญาประดิษฐ์และระบบผู้เชี่ยวชาญ (Artificial Intelligence : AI/Expert System : ES)
สารสนเทศและการตัดสินใจ ภาพผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพสูงและประสบความสำเร็จในการบริหารงาน คือ ผู้บริหารที่สามารถใช้ทรัพยากรหลัก 4 ประการ อันได้แก่ เงิน วัสดุและครุภัณฑ์ บุคลากร และสารสนเทศ ให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคของสารสนเทศเช่นในปัจจุบ้นนี้ สารสนเทศเป็นปัจจัยกำหนดความได้เปรียบในการแข่ง ขันทางธุรกิจ ดันนั้นการตัดสินใจของผู้บริหารจึงมีความสัมพันธ์โดยตรงกับสารสนเทศทั้งภายในและภายนอกองค์กร การใช้สารสนเทศเพื่อการตัดสินใจในองค์กร แบ่งการทำงานได้เป็น 4 ระดับด้วยกัน คือ
  1. การะใช้สารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง (Strategic-level managers)
  2. การใช้สารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับกลาง (Tactical-level managers)
  3. การใช้สารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับปฏิบัติการ (Operational-level managers)
  4. การะใช้สารสนเทศสำหรับงานประจำภายในองค์กร (Clerical-level)
ภาพในสามระดับแรกเป็นการใช้สารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเชิงบริหารจัดการ ส่วนระดับสุดท้ายเป็นการใช้สารสนเทศของผู้ปฏิบัติงานประจำวัน ระบบสารสนเทศจะทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากระดับปฏิบัติการ และทำการประมวลผลเพื่อให้สารสนเทศกับบุคลากรในระดับต่างๆ ซึ่งในแต่ละระดับนั้นจะใช้ลักษณะและปริมาณของสารสนเทศที่แตกต่างกันไประบบสารสนเทศ ในองค์กรสามารถแทนด้วยภาพปิรามิด โครงสร้างระบบสารสนเทศแบบปิรามิดนั้น มีฐานที่กว้างและบีบแคบขึ้นไปบรรจบกันในยอดบนสุด ซึ่งหมายความว่าสารสนเทศที่ใช้งานจะมีมากในระดับล่างและลดหลั่นน้อยลงไปตามลำดับจนถึงยอด บนสุด เช่นเดียวกับจำนวนบุลากรในระดับนั้นๆ
ระบบสารสนเทศ
บุคลากรในแต่ละระดับจะเกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศดังนี้
ภาพด้านหน้าระดับสูง หรือ ระดับวางแผนยุทธศาสตร์ ผู้บริหารในระดับนี้จะเป็นผู้บริหารระดับสูงสุด ซึ่งเน้นในเรื่องเป้าประสงค์ขององค์กร เป็นการใช้สารสนเทศเพื่อประกอบการวางแผนระยะยาว และเป็นแผนยุทธศาสตร์ที่กำหนดทิศทางและแผนงานในอนาคต (ระยะเวลา 3 ปีขึ้นไป) ดังนั้นระบบสารสนเทศที่ต้องการจะเน้นที่รายงานสรุป รายงานแบบ What-If และการวิเคราะห์แนวโน้มต่างๆ (trend analysis) ตัวอย่างเช่น ประธานบริษัทอาจต้องการรายงานที่แสดงแนวโน้มการขายในอีกสี่ปีข้างหน้า ของผลิตภัณฑ์สามชนิดของบริษัท เพื่อดูแนวโน้มในการเติบโตของผลิตภัณฑ์ต่างๆ ว่าผลิตภัณฑ์ใดที่อาจสร้างปัญหาให้บริษัทได้เป็นต้น ภาพด้านหน้าระดับกลางหรือระดับวางแผนบริหาร บุคลากรในระดับนี้ จะเป็นผู้บริหารระดับกลาง ซึ่งมีหน้าที่ในการวางแผนเชิงกลยุทธให้บรรลุเป้าหมายต่างๆ เพื่อให้องค์กรสามารถประสบความสำเร็จตามแผนงานระยะยาว (ประมาณ 1-3 ปี) ที่กำหนดโดยผู้บริหารระดับสูง สารสนเทศที่ ผู้บริหารระดับนี้ต้องการ มักจะเป็นสารสนเทศตามคาบเวลาซึ่งมีระยะเวลานานกว่าผู้บริหารขั้นต้น และเป็นสารสนเทศที่รวบรวมข้อมูลทั้งจากภายในและภายนอกองค์กร ภาพด้านหน้าระดับแผนปฏิบัติการ บุคลากรในระดับบน จะเป็นผู้บริหารขั้นต้นซึ่งมีหน้าที่ควบคุมการปฏิบัติงานประจำวัน และการวางแผนบริหารงานที่เกี่ยวข้องกับระยะเวลาสั้นๆ (6เดือน ถึง1ปี) เช่นแผนงานประจำวัน ประจำสัปดาห์ หรือประจำไตรมาส ข้อมูลที่ผู้บริหารระดับนี้ ต้องการ ส่วนมากจะเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการในช่วงเวลาหนึ่งๆ ภาพด้านหน้าระดับงานประจำภายในองค์กร บุคลากรในระดับนี้จะเกี่ยวข้องอยู่กับงานที่ต้องการทำซ้ำๆ กัน และจะเน้นไปที่การจัดการรายการประจำวัน นั่นคือ บุคลากรในระดับนี้เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศในฐานะผู้จัดหาข้อมูลเข้าสู่ระบบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น